Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2339
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนในประเทศไทย |
Other Titles: | Factors affecting household saving in Thailand |
Authors: | ระวีวรรณ มาลัยวรรณ ชนิชา เจริญนาน, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี การประหยัดและการออม -- ไทย การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของการออมของครัวเรือนของ ประเทศไทย และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนของประเทศไทย การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับ เงินออมในรูปเงินฝากของครัวเรือนที่ธนาคาร พาณิชย์ รายได้พึงจับจ่ายใช้สอย รายได้จากทรัพย์สิน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคาร พาณิชย์ และอัตราเงินเฟ้อ จากธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523–2552 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสมการถดถอยพหุคูณ ประมาณค่าพารามิเตอร์ของตัวแปรต่างๆ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด การศึกษาการออมครั้งนี้ใช้เฉพาะปริมาณเงินฝากของครัวเรือนที่ธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า 1) การออมของภาคครัวเรือนไทยอยู่ในระดับต่ำ กล่าวคือค่าความโน้ม เอียงของการออมหน่วยสุดท้ายเท่ากับ 0.004 และมีแนวโน้มในภาพรวมลดลงสาเหตุเนื่องจากการลด ของการออมสุทธิภาครัฐบาลภาคครัวเรือน และการออมสุทธิภาคครัวเรือนลดลง เนื่องจากสาเหตุ หลายประการ เช่น มีการอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าคงทนที่มีราคาสูงเพิ่มขึ้น รัฐมีสวัสดิการเพิ่มขึ้น ทำให้ครัวเรือนลดความจำเป็นที่จะต้องออมเงินสำหรับใช้ในยามจำเป็นและยังมีอุปสรรคและข้อจำกัด ในการเข้าถึงแหล่งเงินออมเงิน 2) ปัจจัยในการกำหนดการออมของครัวเรือนไทยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ รายได้พึงจับจ่ายใช้สอย และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี โดยรายได้พึงจับจ่ายใช้สอยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณเงินฝากของภาคครัวเรือนที่ ธนาคารพาณิชย์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณ เงินฝากจากภาคครัวเรือนที่ธนาคารพาณิชย์ สำหรับค่าความโน้มเอียงของการออมหน่วยสุดท้ายตาม ทฤษฎีการออมที่สัมพันธ์กับรายได้สัมบูรณ์ของเคนส์ มีค่าเท่ากับ 0.004 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2339 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128317.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License