กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2347
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการใช้บริการสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูฉะเชิงเทรา จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors affecting members' decisions to use the credit service of Chachoengsao Teacher Savings and Credit Co-operative Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญตา บุญงาม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูฉะเชิงเทรา
สินเชื่อ
สหกรณ์ออมทรัพย์
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกในการใช้บริการสินเชื่อ 2) รูปแบบการใช้บริการสินเชื่อของสมาชิก 3) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการใช้ บริการสินเชื่อ 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการใช้บริการสินเชื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการใช้บริการสินเชื่อ และ 6) ข้อเสนอแนะที่มีต่อการใช้บริการสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูฉะเชิงเทรา จำกัด จำนวน 4,947 คน โดย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติ ทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เชฟเฟ่ และสถิติทดสอบไคสแคว์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกที่ใช้บริการด้านสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 56 - 65 ปีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่าอาชีพข้าราชการ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยรวมต่อเดือน ระหว่าง 15,001 - 25,000 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยรวมต่อเดือนระหว่าง 15,001 - 25,000 บาท 2) รูปแบบ การใช้บริการด้านสินเชื่อ ส่วนใหญ่ใช้บริการสินเชื่อเงินกู้สามัญวงเงิน ระหว่าง 100,000 –500,000 บาท ได้รับ การอนุมัติตามวงเงินที่ขอกู้และกู้เพื่อการใช้จ่ายใช้จ่ายอื่นๆ มีความถี่ในการใช้บริการมากกว่า 1ครั้ง/ปี 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสำคัญต่อการใช้บริการสินเชื่ออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายปัจจัยที่ สำคัญ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคคล และด้านกายภาพ ตามลำดับ ส่วนด้านส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับ มาก 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สมาชิกที่มีระดับการศึกษา รายได้และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีการใช้บริการสินเชื่อที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับการใช้บริการสินเชื่อ พบว่าตำแหน่งมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ บริการสินเชื่อทั้งด้านประเภทสินเชื่อสามัญ วงเงินและความถี่ของสินเชื่อฉุกเฉิน และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการสินเชื่อพิเศษและวงเงินสินเชื่อฉุกเฉิน ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์ กับการใช้วงเงินสินเชื่อฉุกเฉิน ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการใช้บริการสินเชื่อพบว่า ด้านราคา มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการสินเชื่อสามัญ ความถี่การใช้สินเชื่อฉุกเฉิน และความถี่การใช้ สินเชื่อสามัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 6) ข้อเสนอแนะของสมาชิกที่สำคัญ คือ สหกรณ์ควรเปลี่ยนแปลงในเรื่อง ของการให้นำผู้ค้ำประกันและคู่สมรสมาเซ็นต์สัญญาค้ำประกันที่สหกรณ์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2347
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145746.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons