กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2400
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อปุ๋ยผสมของสมาชิกกลุ่มผสมปุ๋ยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the decision to buy mix fertilizer of Kiriratnikom office of Rubber Replanting Aid Fund Members Suratthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชวลิต บางรักษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ปุ๋ย--การจัดซื้อ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสมาชิกที่ซื้อปุ๋ยผสมของกลุ่มผสมปุ๋ย กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อปุ๋ยผสมของสมาชิกกลุ่มผสมปุ๋ย กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะที่มีผลต่อการซื้อปุ๋ยผสมของสมาชิกกลุ่มผสมปุ๋ย กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ศึกษา คือสมาชิกของกลุ่มผสมปุ๋ยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งหมดจำนวน 48 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น มีพื้นที่สวน 11-20 ไร่ รายได้ของครอบครัวต่อเดือน มากกว่า 30,000 บาท ประเภทของสวนที่นำปุ๋ยไปใช้ มากที่สุดคือยางพารา ส่วนใหญ่ซื้อปุ๋ยสูตร 14-7-35 ซื้อปุ๋ยครั้งละ 11-20 กระสอบ ซื้อปุ๋ยในช่วงเดือน เมษายน กรกฎาคม เหตุผลในการซื้อปุ๋ยของกลุ่มผสมปุ๋ยเพราะถือหุ้นของกลุ่มผสมปุ๋ยและมาซื้อปุ๋ยด้วยตนเอง 2) ปัจจัย ส่วนประสมการตลาดมีผลต่อการซื้อปุ๋ยผสมของกลุ่มผสมปุ๋ยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางโดยรวมอยูใน ระดับมากทุกด้าน โดยปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายเป็นปัจจัยในที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยผสมของกลุ่มผสมปุ๋ย ของสมาชิกในระดับที่สูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านราคา ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดเป็นปัจจัยในการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัญหาและ ข้อเสนอแนะได้แก่กลุ่มผสมปุ๋ยควรปรับปรุงด้านภูมิทัศน์และความสะอาดของสถานที่ เครื่องมือที่ใช้ในการผสม ปุ๋ยควรเป็นเครื่องมือที่มีมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2400
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148388.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons