Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2402
Title: การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด
Other Titles: An analysis of financial economic change of the Suratthani Public Health Savings & Credit Cooperatives, Ltd.
Authors: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชีวรัตน์ ศรีชุม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี
การเงิน--แง่เศรษฐกิจ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุ ราษฎร์ธานี จำกัด 2) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข สุราษฎร์ธานี จำกัด ปี 2545-2554 3) เพื่อศึกษาแนวทาง หาข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการของสหกรณ์ออม ทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด วิธีการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยได้จากการรวบรวมเอกสารทางการเงินและข้อมูล ทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด ได้แก่ รายงานกิจการประจำปี และงบการเงิน ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด ปี 2545 -2554 จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวโดย โปรแกรมวิเคราะห์ทางการเงิน CAMELS Analysis ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน มุมมอง 6 มิติ คือ มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์ มิติที่ 3 ความสามารถในการบริหาร มิติที่ 4 ความสามารถในการทำกำไร มิติที่ 5 สภาพคล่องทางการเงิน และมิติที่ 6 ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข สุราษฎร์ธานี จำกัด ปี 2545-2554 สหกรณ์ไม่มีความเสี่ยงต่อความไม่เพียงพอของเงินทุน เนื่องจากสหกรณ์มี อัตราการเติบโตของทุนสูง (ร้อยละ14.88) มีทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากหนี้สิน (0.65 เท่า) สินทรัพย์ ของสหกรณ์มีคุณภาพเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ร้อยละ 4.37) สหกรณ์มีขีดความสามารถ ในการบริหารธุรกิจต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ร้อยละ13.46) และขีดความสามารถใน การทำกำไรสูง (อัตราการเติบโตของกำไร เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.76) มีสภาพคล่องสูงกวาปี ก่อนแต่ต่ำกว่าเกณฑ์ เล็กน้อย (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน 0.43 เท่า) และมีคุณภาพของลูกหนี้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (อัตราลูกหนี้ระยะ สั้นที่ชำระได้ตามกำหนดร้อยละ 100) นอกจากนี้ความสามารถในการทำกำไร ( E ) สูง เนื่องจากอัตรากำไรสุทธิ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ส่วนด้านอื่นๆ เช่น คุณภาพสินทรัพย์ (A) และสภาพคล่อง (L) ของสหกรณ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากสหกรณ์ไม่มีหนี้สูญและมีสภาพคล่องสูง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2402
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
132847.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons