กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2404
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้สินของเกษตรกรที่ยากจนมากในจังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affectings ultra poor farmer's debt in Phayao Province. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมบัติ พันธวิศิษฎ์ นิชาภา เทพนากิจ, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี เกษตรกร -- การเงิน การกู้ยืมส่วนบุคคล เงินกู้ส่วนบุคคล การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่ยากจนมาก ในจังหวัดพะเยา 2) พฤติกรรมการก่อหนี้ของเกษตรกรที่ยากจนมากในจังหวัดพะเยา 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความสามารถในการชำระหนี้ ของเกษตรกรที่ยากจนมากในจังหวัดพะเยา และ 4) ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้สินของ เกษตรกรที่ยากจนมากในจังหวัดพะเยา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยครัวเรือนเกษตรกรที่ ยากจนมากในจังหวัดพะเยา จำนวน 90 ครัวเรือน โดยสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้นในช่วงปีพ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) หัวหน้าครัวเรือนเกษตรมีอายุเฉลี่ย 57.62 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จชั้น ประถมศึกษา สถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกเฉลี่ย 4.52 คนต่อครัวเรือน ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย เท่ากับ 52,667.11 บาทต่อปี มีรายจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 42,906.67 บาทต่อปี มีอาชีพรับจ้างทั่งไปเป็นอาชีพรอง มีหนี้สินกับ กองทุนหมู่บ้าน และร้อยละ 82.73 มีหนี้สินจำนวนไม่เกิน 20,000.- บาทต่อครัวเรือน 2) การก่อหนี้ของเกษตรกรมีสาเหตุจากที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และมีผู้ป่วยที่ต้องรักษาประจำ แหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่มาจาก ญาติพี่น้อง เนื่องจากสะดวกรวดเร็ว และสามารถขอผ่อนผันได้ สำหรับกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ ครบทุกรายพร้อมกันได้ ครัวเรือนเกษตรกรเลือกที่จะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่เครือญาติก่อน 3) ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนสมาชิกใน ครัวเรือนที่เป็นภาระ จำนวนสมาชิกครัวเรือนมีผู้ป่วยที่ต้องรักษาเป็นประจำ หนี้สิน ความสามารถในการขาย ผลผลิต และสถานภาพของหัวหน้าครัวเรือน โดยปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงความสามารถใน การชำระหนี้ของเกษตรกร ได้ร้อยละ 39.1 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้สินของ เกษตรกร ได้แก่ รายจ่ายรวมต่อปีของครัวเรือน รายจ่ายประจำวัน และรายจ่ายการรักษาพยาบาลสมาชิกของ ครัวเรือนที่เจ็บป่วย ปัจจัยเหล่านี้สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงหนี้สินของเกษตรกร ได้ร้อยละ 47.3 ที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2404 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130936.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License