Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2420
Title: การใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินเพื่อการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Use of financial accounting data of the committees for the saving and credit cooperatives management in Uttaradit Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
วินัย จันทร์ทับทอง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์--การบริหาร.--ไทย--อุตรดิตถ์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคลของคณะกรรมการดำเนินการ 2) การใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินเพื่อกาบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการ และ 3) ปัญหาอุปสรรคในการใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินเพื่อ การบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์์ทั้งหมด จำนวน 9 สหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการทั้งหมดจำนวน 128 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) คณะกรรมการดำเนินการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 51 - 60 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่จบการศึกษาด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับบัญชีและการบริหารธุรกิจ ดำรงตำแหน่งกรรมการ และมีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งอยู่ระหวา่ง 1 - 4 ปี 2) การใช้ข้อมูลทางบัญชการเงินเพื่อการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก การใช้ในระดับมากที่สุด คือ รายงานผลการดำเนินงานประจำเดือนและงบทดลองประจกเดือน และรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีตามลำดับ การใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินเพื่อการบริหารด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารด้านการควบคุมสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการตัดสินใจ และด้านการวางแผนตามลำดับ ด้านการควบคุมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การใช้ข้อมูลรายงานผลการดำเนินประจำเดือนเพื่อการควบคุม การดำเนินงานของสหกรณ์ ด้านการตัดสินใจ คือ การใช้ข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือนในการตัดสินสินใจเพิ่ม/ลด ปริมาณธุรกิจ และการใช้ข้อมูลจากรายงานทางการเงินประกอบการขออนุมัติวงเงินกู้ยืมของสหกรณ์ และด้านการวางแผนคือการใช้ข้อมูลรายงานผลดำเนินงานประจำเดือนในการกำหนดแผนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ 3) ปัญหาอุปสรรคในการใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และที่สำคัญ อยู่ในระดับปานกลาง คือ ความรู้ทางด้านบัญชีการเงินไม่เพียงพอ และอยู่ในระดับน้อย คือ มีความรู้ในการนำงบการเงินไปใช้ในการบริหารงานไม่เพียงพอ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้จัดทำงบการเงินหรือรายงานทางบัญชีไม่ทันสมัย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2420
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-151036.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons