Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2428
Title: แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดชุมพร
Other Titles: Guidelines for development administration of farmers groups in Chumphon Province
Authors: ศิริลักษณ์ นามวงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรา ปลอดใหม่, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เกษตรกร--ไทย--ชุมพร
เกษตรกร--การรวมกลุ่ม
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารงานของกลุ่มเกษตรกร 2) ปัญหา อุปสรรคการบริหารงานกลุ่มเกษตรกร และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดชุมพร ประชากรในการศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินงานในจังหวัดชุมพร จำนวน 4,829 คน กำ หนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 376 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อ มูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.20 เป็นกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก มีทุนดำเนินงานไม่เกิน 1,000,000 บาท บริหารงานโดยคณะกรรมการทำหน้าที่แทนฝ่ายจัด การ เนื่องจากกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 89.66 มีกำ ไรไม่เพียงพอในการจ้างพนักงาน มีปริมาณธุรกิจไม่เกิน 2,000,000 บาท ร้อยละ 93.10 ไม่มีวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ร้อยละ 89.66 และบริหารงานแบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร้อยละ 93.10 สำหรับการบริหารงานตามหลักการของ McKinsey’s 7S Framework สมาชิกเห็นว่า กลุ่ม เกษตรกรมีการดำเนินงานด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านระบบการปฏิบัติงาน ด้านรูปแบบการบริหาร ด้านบุคลากร ด้านทักษะ และด้านค่านิยม อยู่ในระดับมาก ซึ่งกลุ่มเกษตรกรในจัง หวัดชุมพร ร้อยละ 82.76 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 2) ปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานที่พบ คือกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 89.66 ไม่มีวัสดุอุปกรณ์เนื่องจากไม่มีกำไรเพียงพอในการจัดซื้อ กลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 10.34 ไม่สามารถจัดทำงบดุลรอบปี สิบสองเดือนแล้วเสร็จและจัดส่งให้ผู้สอบบัญชีรับรองได้ภายในเวลา 150 วัน หลังจากสิ้นปีบัญชี เนื้องมาจากไม่มีพนักงานบัญชี กลุ่มเกษตรกรร้อยละ 10.34 มีผลการดำเนินงานประจำปี 2560 ขาดทุนเนื่องจากเงินทุนในการดำเนินงานไม่เพียงพอ ต้องหาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงแต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น และ 3) การพัฒนากาบริหารงาน กลุ่มเกษตรกรควรจัดหาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน คณะกรรมการต้องพัฒนาการบริหารงานกลุ่มให้ผ่านเกณฑ์หรือรักษาเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกรโดยนำแนวทางตามหลักของMcKinsey’s 7S Framework มาปรับใช้ในการบริหารงานกลุ่ม เพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัต ราดอกเบี้ยต่ำของกรมส่งเสริมสหกรณ์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2428
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-158701.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons