กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2430
ชื่อเรื่อง: | การจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดปราจีนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Establishment of agricultural cooperatives of Young Smart Farmer in Prachin Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริลักษณ์ นามวงศ์ วิภาพร เขียวรี, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตร--ไทย--ปราจีนบุรี การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดปราจีนบุรี 2) ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ 3) ปัจจัยและความต้องการในการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 4) เสนอแนะแนวทางในการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและผ่านการประเมินคุณสมบัติของเกษตรกรรุ่นใหม่ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ปี 2557-2561 โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมดจำนวน 83 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดปราจีนบุรี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ระหว่าง 36-45 ปี สถานภาพโสด การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท รายจ่ายต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 บาท ภาระหนี้สินมากกว่า 50,000 บาท พื้นที่เพาะปลูกเป็นของตนเอง มีพื้นที่ 28 ไร่/คน ประสบการณ์ 15 ปี แหล่งเงินทุนจากกู้จากสถาบันการเงิน ปัญหาเบื้องต้นในด้านเงินทุน และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสหกรณ์ไม่มีความรู้เลย 2) ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดปราจีนบุรี พบว่า ด้านองค์ความรู้ ด้านสวัสดิการ ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านบุคลากร และด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก โดยเห็นว่า สมาชิกได้รับความมั่นคงในการทำเกษตรมากขึ้น สมาชิกสามารถซื้อปัจจัยการผลิตที่หลากหลายในราคาที่เหมาะสมจากสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ได้รับผลตอบแทนสหกรณ์ในรูปของเงินปันผลตามจำนวนหุ้น และเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจทุกสิ้นปีบัญชี ตามลำดับ 3) ปัจจัยและความต้องการที่มีผลต่อการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการสหกรณ์ประเภทสหกรณ์การเกษตร จำนวนหุ้นแรกเข้า 10 หุ้น มูลค่าหุ้น 100 บาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท ความต้องการรวบรวมผลิตผล มีความต้องการปัจจัยการผลิต ต้องการการอบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมในการประกอบอาชีพตามความต้องการของสมาชิก และมีความต้องการเงินกู้จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ 4) ข้อเสนอแนะที่มีต่อการจัดตั้งสหกรณ์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ พบว่า ควรสร้างการรับรู้ ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ หรือประโยชน์ของการจัดตั้งสหกรณ์ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ทราบทั่วถึงกัน กำหนดแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจน โดยเป็นไปตามกฎหมายรวบรวมเกษตรกรให้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ควรทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ทั้งจากการลดต้นทุนให้เกษตรกรและมีแหล่งขายสินค้าที่ได้ราคาที่เหมาะสม ควรเคร่งครัดเรื่องเงินทุนทุกระบบของสหกรณ์เป็นประจำรายเดือนเพื่อความปลอดภัยของสมาชิกที่ฝากเงินในสหกรณ์ และต้องการให้มีทุนช่วยเหลือในการทำเกษตร. |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2430 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext-161360.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License