กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/243
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสมาชิกพรรคการเมือง : ศึกษากรณีสมาชิกพรรคไทยรักไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลำพูน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political participation of political party members : a case study of Thai Rak Thai Party members in the second constituency of Lamphun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฐปนรรต พรหมอินทร์ บุษบา บุญศรี, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประพนธ์ เจียรกูล เสนีย์ คำสุข |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ พรรคไทยรักไทย การมีส่วนร่วมทางการเมือง |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสมาชิกพรรคไทยรักไทยเขตเลือกตั้งที่ 2 ชังหวัดลำพูน (2) ความคิดเห็นของสมาชิกพรรคไทยรักไทยเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลำพูนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมือง (3) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเด็นลักษณะและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสมาชิกพรรคไทยรักไทยเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลำพูน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล และความคิดเห็นของสมาชิกพรรคไทยรักไทยเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสมาชิกพรรคไทยรักไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลำพูน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ขณะที่กลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด อายุ ระหว่าง 26-35 ปีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือตํ่ากว่าอาชีพรับจ้างทั่วไปรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,000 บาทหรือตํ่ากว่า และ 3,001 - 5,000บาท ระยะเวลาการเข้าเป็นสมาชิกพรรค 5 ปีขึ้นไป เหตุผลที่เข้าเป็นสมาชิกพรรคเพราะชอบนโยบายพรรค (2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (4) กลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งระดับปานกลาง ต้านการพูดจาปรึกษาเรื่องการเมืองระดับตํ่า ด้านการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเมืองระดับตํ่า ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองระดับตํ่ามาก ด้านการออกเสียงเลือกตั้งระดับสูง ด้านการยื่นข้อเสนอระดับตํ่ามาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษาอาชีพ ระยะเวลาการเข้าเป็นสมาชิกพรรค มีความสัมพันธ์กับลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมือง อาชีพรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะ เวลาการเข้าเป็นสมาชิกพรรค มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง ขณะที่ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองก็มีความสัมพันธ์กับลักษณะและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/243 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
100828.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License