กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2449
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์นิคมกบินทร์บุรี จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Increasing the business potential of Kabin Buri Settlement Cooperative Limited Prachin Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ นามวงศ์
ดวงมณี พิมพานนท์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์นิคมกบินทร์บุรี
สหกรณ์--การจัดการ
สหกรณ์--การบริหาร.--ไทย--ปราจีนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ 2) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจ และ 3) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์นิคมกบินทร์บุรี จำกัด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 1) การวิจัยเชิงปริมาณประชากร คือ สมาชิกสหกรร์นิคมกบินทร์บุรี จำกัด ณ 31 มีนาคม 2561 จำนวนทั้งหมด 4,462 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 367 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ 15 คน ฝ่ายจัดการสหกรณ์ 6 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 1 คน รวม 22 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง คือ คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ มีความเข้าใจพร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ มีแหล่งเงินทุนจากภายใน มีทำเลที่ตั้งที่ดีและโครงสร้างการบริหารงานและจัดสวัสดิการเหมาะสม จุดอ่อนของสหกรณ์ คือ คณะกรรมการขาดความรู้ด้านกฎหมาย สมาชิกไม่เข้าใจบทบาทของตน สหกรณ์ต้องอาศัยเงินทุนจากภายนอก และขาดทุนจากการดำเนินงาน จัดหาสินค้ามาจำหน่ายไม่พอต่อความต้องการ และไม่สามารถเก็บหนี้จากสมาชิกได้ สำหรับปัจจัยภายนอกสหกรณ์มีโอกาส คือนโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้มีการพัฒนาสหกรณ์ และสนับสนุนเงินทุน นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ สหกรณ์มีอุปสรรค คือ วัสดุอุปกรร์ทางการเกษตรมีราคาสูง ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ สมาชิกไม่สามารถชำระหนี้ได้ คู่แข่งทางการค้าเพิ่มขึ้น 2) ความต้องการในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจ (1) ธุรกิจสินเชื่อพบในระดับมากที่สุด คือ ผู้มีรายได้น้อยสามารถกู้ได้ค่าเฉลี่ยระดับมาก คือ การนำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน พักชำระหนี้ให้กับสมาชิก ปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้กับสมาชิกที่ชำระเงินตรงตามเวลา และพิจารณาการให้สินเชื่อของสมาชิกที่มีรายได้หลายแหล่ง (2) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย พบในระดับมาก คือ สินค้าตรงตามความต้องการของสมาชิกค่าเฉลี่ย การจัดกิจกรรมพิเศษในวันสำคัญของสหกรณ์ ราคาสินค้ามีความเหมาะสม และให้บริการผ่านประธานกลุ่ม (3) ธุรกิจรับฝากเงิน พบในระดับมาก คือ สมาชิกต้องการดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ จัดให้มีโปรโมชั้นพิเศษในด้านอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้เกิดการออม ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์มีความเหมาะสมค่าเฉลี่ย มีความเชื่อมั่นในระบบการบริหารงานของสหกรณ์ และ (4) ธุรกิจรวบรวมผลผลิต พบในระดับมาก คือ จ่ายเงินให้สมาชิกได้อย่างรวดเร็ว ต้องการให้สหกรณ์รับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด มีบริการรถวิ่งรับส่งผลผลิตถึงบ้านสมาชิก และผลผลิตมีเพียงพอที่ต้องการให้สหกรณ์รับซื้อ และ 3) แนวทางการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ ในธุรกิจสินเชื่อสหกรณ์ควรติดตามหนี้ค้างนานจากสมาชิก สำหรับธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายสหกรณ์ควรสำรวจความต้องการของสมาชิกก่อนจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ส่วนธุรกิจรับฝากสหกรณ์ควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอย่างเหมาะสม และธุรกิจรวบรวมผลผลิตสหกรณ์ควรเตรียมความพร้อมในด้านเงินทุน แรง วัสดุอุปกรณ์ เพราะสมาชิกมีผลผลิตเพียงพอที่ต้องการให้สหกรณ์รวบรวม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2449
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161551.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons