กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2451
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมของครัวเรือนในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of factors effecting household saving in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข
ปณิตา มนตรี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม--ไทย
ครัวเรือน--ไทย--แง่เศรษฐกิจ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การออมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ในการสนับสนุนการลงทุนและขยายการผลิตของประเทศ แต่การออมของภาคครัวเรือนของไทยซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกลับมีสัดส่วนที่เล็กลง วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของภาค ครัวเรือนในช่วงดังกล่าว และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการออมของภาคครัวเรือนในประเทศไทย ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อปริมาณการออมของภาคครัวเรือนในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ.2537 ถึง พ.ศ.2546) การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเป็นข้อมูลรายปีระหว่างปี พ.ศ.2537 – พ.ศ.2546 โดยใช้วิธีทางเศรษฐมิติ โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อนในรูปของ สมการถดถอยเส้นตรง ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลจากการศึกษาพฤติกรรมการออมของภาคครัวเรือนในช่วงดังกล่าว พบว่า อัตรา การออมของภาคครัวเรือนลดลงมาโดยตลอด จากร้อยละ 30 ของรายได้ ในปี พ.ศ.2537 เหลือ ร้อยละ 27.5 และร้อยละ17.3 ในปี 2541 ในปี พ.ศ.2546 เหลือร้อยละ 12.32 ของปริมาณการออมรวมในประเทศ ทั้งๆ ที่รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ในปี พ.ศ.2537-พ.ศ.2541 แต่รายได้เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นยังต่ำกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.2 เมื่อคิดเป็นร้อยละของรายได้ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูงขึ้นถึงร้อยละ 71.4ในปี พ.ศ.2541 มีผลทำให้การออมของครัวเรือนลดลง ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมของครัวเรือนในประเทศไทย พบว่า รายได้ที่ใช้จ่ายจริงต่อหัว และพฤติกรรมการออมหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการออมของภาคครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีและสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณการออมของภาคครัวเรือน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2451
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
85164.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons