Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2464
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors related to saving behavior : a case study of government officers of the office of Auditor General of Thailand under Central Administration Bangkok
Authors: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปีชัย จีระศักดิ์ประเสริฐ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการ -- การเงินส่วนบุคคล
การประหยัดและการออม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการออมของข้าราชการสำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออม ของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร การศึกษาในครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน สังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาเฉพาะตำแหน่งระดับปฏิบัติการและชำนาญการ จำนวน 344 คน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตำแหน่งระดับ ปฏิบัติการและกลุ่มตำแหน่งระดับชำนาญการ จำนวนกลุ่มละ 172 คน ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้แบ่งตาม หน่วยงาน 41 หน่วยงาน โดยแบ่งตามสัดส่วนจำนวนข้าราชการของแต่ละหน่วยงาน และใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการออมมากถึงร้อยละ 95.35 ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมี จำนวนเงินออมเดือนละ 1,000 – 5,000 บาท รูปแบบการออมมากที่สุดของกลุ่มตัวอย่างเลือกออมโดยฝาก เงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงานและซื้อทองคำจุดมุ่งหมายในการออมที่สำคัญของกลุ่มตัวอย่าง มากที่สุดคือ เพื่อการลดหย่อนภาษี 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว ระดับตำแหน่ง อายุราชการ รายได้ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่อเดือน ค่าใช้จ่ายด้านที่พักหรือที่อยู่อาศัยต่อเดือน ค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของตนเองและบุตรต่อเดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ต่อเดือน และภาระในการชำระหนี้สินต่อเดือน ส่วนปัจจัย ที่ไม่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการออม ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยานพาหนะต่อเดือน และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อเดือน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2464
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150169.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons