กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2464
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to saving behavior : a case study of government officers of the office of Auditor General of Thailand under Central Administration Bangkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัชฎาพร เลิศโภคานนท์ ปีชัย จีระศักดิ์ประเสริฐ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการ --การเงินส่วนบุคคล การประหยัดและการออม--ไทย--กรุงเทพฯ การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการออมของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร การศึกษาในครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาเฉพาะตำแหน่งระดับปฏิบัติการและชำนาญการ จำนวน 344 คน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตำแหน่งระดับปฏิบัติการและกลุ่มตำแหน่งระดับชำนาญการ จำนวนกลุ่มละ 172 คน ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้แบ่งตามหน่วยงาน 41 หน่วยงาน โดยแบ่งตามสัดส่วนจำนวนข้าราชการของแต่ละหน่วยงาน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ผลการศึกษา พบว่า 1) ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลางกรุงเทพมหานคร ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการออมมากถึงร้อยละ 95.35 ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเงินออมเดือนละ 1,000 – 5,000 บาท รูปแบบการออมมากที่สุดของกลุ่มตัวอย่างเลือกออมโดยฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงานและซื้อทองคำจุดมุ่งหมายในการออมที่สำคัญของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคือ เพื่อการลดหย่อนภาษี 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว ระดับตำแหน่ง อายุราชการรายได้ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่อเดือน ค่าใช้จ่ายด้านที่พักหรือที่อยู่อาศัยต่อเดือน ค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของตนเองและบุตรต่อเดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ต่อเดือน และภาระในการชำระหนี้สินต่อเดือนส่วนปัจจัย ที่ไม่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการออม ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและยานพาหนะต่อเดือน และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อเดือน |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2464 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
150169.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License