Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2467
Title: | การจัดการปลูกยางพาราในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Management of para rubber production in Danchang District of Suphan Buri Province |
Authors: | กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา ภาวดี สิทธิ์ประเสริฐ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ยางพารา--การปลูก |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในอาเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพารา 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับพันธุ์ยางพาราที่ปลูก 4) สภาพปัญหาของดินและวิธีการจัดการดินในพื้นที่ปลูก 5) วิธีการดูแลรักษาสวนยางพาราก่อนและหลังให้ผลผลิต และ6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการทาสวนยางพาราในพื้นที่อาเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรและหรือสหกรณ์การเกษตร ด่านช้าง จากัด จานวน 77 คน เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.23 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่4 ก่อนปลูกยางพารามีอาชีพปลูกพืชไร่ มีวัตถุประสงค์ในการปลูกยางพารา คือ ต้องการผลผลิตน้ายางและเนื้อไม้ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นเนินเขา โดยเป็นกรรมสิทธิ์แบบถือครองทั้งหมด อายุของยางพาราที่ปลูกเฉลี่ย 5.40 ปี พันธุ์ยางพาราที่ใช้ คือ RRIM 600 ชนิดผลผลิตยางพาราที่ขายเป็นแบบยางแผ่นดิบและเศษยาง ลักษณะการขายเป็นแบบขายเอง และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเอง 2) ปัจจัยทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และสังคม มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพารา ในระดับปานกลาง ในขณะที่ปัจจัยด้านทัศนคติและสาธารณูปโภค และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการปลูกยางพารามีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราในระดับมาก 3) เกษตรกรมีความคิดเห็นว่า ยางพาราพันธุ์ RRIM 600 มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีความเหมาะสมด้านความต้านทานโรค/แมลงสูงสุด 4) พื้นที่ปลูกยางพารา ไม่ประสบปัญหาของดิน ร้อยละ 55.84 ประสบปัญหาของดิน ร้อยละ 44.16 โดยปัญหาทางกายภาพที่พบมากสุด คือ ดินลูกรัง (ร้อยละ 94.12) และปัญหาทางเคมีที่พบมากสุด คือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่า (ร้อยละ 55.88) เกษตรกรมีวิธีการจัดการดินที่มีปัญหาทางกายภาพที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ ปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยาง (ร้อยละ 75.83) วิธีการจัดการดินที่มีปัญหาทางเคมี คือ ปลูกพืชคลุมดินและใส่ปุ๋ยคอก (ร้อยละ 44.12) และวิธีการจัดการดินทั่วไปที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ ใส่ปุ๋ยเคมี (ร้อยละ 90.70) 5) ก่อนและหลังยางพาราให้ผลผลิต เกษตรกรมีการปฏิบัติเพื่อดูแลรักษายางพาราในระดับมาก 6) ปัญหาที่เกษตรกรพบมากที่สุด คือ ตลาดรับซื้อผลผลิตอยู่ห่างไกล (ร้อยละ 44.16) และข้อเสนอแนะที่เสนอมากที่สุด คือ ควรจัดให้มีตลาดกลาง (ร้อยละ 37.66) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2467 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
145413.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License