กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2468
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to Thai international reserved under floating exchange rate system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนีย์ ศิลพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิติพงศ์ แสงวงศ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ทุนสำรองระหว่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยน -- ไทย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงศ์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างการบริหารเงินสำรองระหว่าง ประเทศ ในช่วงที่ประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์,ทางเศรษฐกิจปี 2540 หลังจากมีการใช้ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย โดยใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์รายไตรมาส (ไตรมาส 1 พ..ศ. 2542 - ไตรมาส 4 พ.ศ. 2552) โดยใช้ข้อมูล รายงานบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ อัตรา แลกเปลี่ยน มูลค่าการนำเข้า อัตราการเปลี่ยน เปลี่ยนภาระหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ดุลชำระเงิน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และปริมาณเงินภายในประเทศ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย เงินตรา ต่างประเทศ ทองคำ สิทธิพิเศษถอนเงิน สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดย ภายใต้การใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวมีสัดส่วนของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ดังนี้โดย เงินตราต่างประเทศมีสัดส่วนสูงที่สุด ทองคำ สิทธิพิเศษถอนเงิน และสินทร้พย์ส่งสมทบ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ศึกษาทุกปัจจัยได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน มูลค่า การนำเข้า อัตราการเปลี่ยน เปลี่ยนภาระหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ดุลชำระเงิน ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ และปริมาณเงินภายในประเทศใน 1 ไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลต่อเงินทุนสำรอง ระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและสอดคล้องกับสมมุติฐาน โดยส่งผลให้เงินสำรอง ระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2468
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127346.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons