กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/246
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคกลาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information use for study and research by master's students in the field of educational administration at Rajabhat Universities in the Central Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี ล้ำสกุล
นภารัตน์ พุ่มพฤกษ์, 2509
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สำรวย กมลายุตต์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สารสนเทศ--การศึกษาการใช้
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา และ (3) ปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคกลาง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคกลาง 9 แห่ง ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2558 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของจํานวนนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย รวมจํานวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคกลางโดยรวมใช้สื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทตํารา วิทยานิพนธ์ และรายงานการวิจัยในระดับมากที่สุด และใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (ThaiLIS) และฐานข้อมูล ProQuest Dissertation Full Text ในระดับมากที่สุด (2) การเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ นักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือและเอกสารวิชาการ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 แต่การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารวิชาการ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทวิทยานิพนธ์ หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 สําหรับการเปรียบเทียบรายคู่ มีการใช้หนังสืออ้างอิง วารสารวิชาการ วิทยานิพนธ์ และรายงานการวิจัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาของนักศึกษา ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศจากสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคกลางที่สําคัญ คือ เนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศไม่ตรงกับความต้องการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/246
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151243.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons