Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2478
Title: พฤติกรรมการบริโภคของผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Consumption behavior of retailer in Kimyong district Songkhla province
Authors: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปาริชาต สาครินทร์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การค้าปลีก
ผู้ประกอบการ -- ไทย -- สงขลา
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- สงขลา
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับพฤติกรรม การบริโภคและ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภค กลุ่มตัวอย่างทึ่ใชัในการศึกษาคือ ผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาคกิมหยง อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 150 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมจากแบบสอบถามและใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และสถิติเชิงปริมาณ วิเคราะห์สมการถดถอย ด้วยวิธี Ordinary Least Square ผลการศึกษาพบว่า 1) รายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการบริโภค นั่นคือ ถ้า ผู้ประกอบการค้าปลีกมีรายได้เพื่มขึ้นก็จะมีการบริโภคเพิ่มขึ้น 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริโภคมี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยรายได้ และปัจจัยด้านจำนวนสมาชิกในครัวเรือน โดยปัจจัยทั้งสอง มีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวก นั่นคือ รายได้และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมี ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค โดยมีค่าความยืดหยุ่นของการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคต่อรายได้และต่อจำนวนสมาชิกในครัวเรือนของผู้ประกอบการค้าปลีกในฅลาด กิมหยง มีค่าเท่ากับ 0.364 และ 2355.79 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่ศึกษาอีก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยเพศ ปัจจัยอายุ และปัจจัยสถานภาพสมรส พบว่าไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติหรือ ไม่มีอิทธิพลต่อการ ใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดกิมหยง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2478
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118962.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons