กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2481
ชื่อเรื่อง: | การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Integrated pest management by members of community pest management center in Phayao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา พนิดา นันต๊ะหน้อย, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ศัตรูพืช |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (2) แหล่งความรู้ ความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และความรู้เรื่องศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (4) ระดับการปฏิบัติการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (5) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (6) ปัญหาและข้อเสนอแนะของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มเกษตรกรในโครงการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จังหวัดพะเยา ทั้งหมด 270 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างจานวน 162 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่าสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.93 ปี จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มากที่สุด มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.94 คน มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 18.17 ไร่ ประกอบอาชีพหลัก คือทำนา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน 12,312.65 บาท (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากแหล่งความรู้อยู่ในระดับปานกลาง และมีความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และความรู้เรื่องศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ช่วยให้ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน อยู่ระดับมาก (4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในด้านความรู้อยู่ในระดับ ปานกลาง เช่นเดียวกับปัญหาในด้านการปฏิบัติ (5) ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ต้องการให้มีการอบรมให้ความรู้กับสมาชิกศูนย์เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง โดย ให้เจ้าหน้าที่มาอบรมและพาออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เกิดการระบาดของศัตรูพืช และต้องการงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง (6) ตัวแปรอิสระได้แก่ ความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และจานวนสมาชิกในครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จังหวัดพะเยา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2481 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
146054.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License