Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2482
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกยางพารา : กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม
Other Titles: Analysis of the costs and returns of rubber : a case study of Nakhon Phanom Province
Authors: สมบัติ พันธวิศิษฎ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พจนารถ บุตรเสรีชัย, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ยางพารา -- การปลูก -- อัตราผลตอบแทน
ยางพารา -- การปลูก -- ต้นทุนและประสิทธิผล
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร เจ้าของสวนยางในพื้นที่จังหวัดนครพนม 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครพนม และ 3) วิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการผลิต ยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครพนม การวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่จำหน่าย ผลผลิตแล้วจำนวน 390 รายโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักงานกองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง โดยใช้หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการลงทุน 3 ตัวชี้วัด คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.77 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็ก มีพื้นที่ปลูกยาง 1-10 ไร่ และ มีประสบการณ์ในการปลูกมาแล้ว 6-10 ปี 2) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการปลูก ยางพาราระยะเวลา 20 ปี โดยแบ่งกลุ่มขนาดเกษตรตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม การผลิตยางพาราขนาดสวน 1-10 ไร่ ขนาด 11-20 ไร่ ขนาด 21-30 ไร่ และขนาด 31 ไร่ขึ้นไปพบว่า มีผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน สุทธิ อัตราคิดลดร้อยละ 7 ณ ปี 2557 เท่ากับ 20,812.46 20,886.71 20,388.82 และ 20,839.76 บาทต่อไร่ ตามลำดับอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุนเท่ากับ ร้อยละ 15.71 15.86 15.90 และร้อยละ 15.85 ตามลำดับ และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.25 1.25 1.24 และ 1.25 ตามลำดับ 3) ผลการ วิเคราะห์ความอ่อนไหวภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงด้านผลตอบแทนและต้นทุนปลี่ยนแปลงด้านใด ด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านพร้อมกัน ร้อยละ 10 พบว่า มูลค่าปัจจุบัน สุทธิมีค่าเป็นบวก อัตราผลตอบแทน ภายในของการลงทุนมีค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ตลาดกำหนด และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่า มากกว่าหนึ่ง ดังนั้นการลงทุนผลิตยางพารามีความอ่อนไหวต่อการลงทุนในระดับต่ำ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2482
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148724.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons