กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2488
ชื่อเรื่อง: การผลิตหม่อนผลสดและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mulberry fruit production and extension needs of farmers in Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภกฤต จันทรวิชญ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
หม่อน--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตหม่อนผลสดในจังหวัดสกลนคร ดังนี้ (1) ลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตหม่อนผลสด (3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตหม่อนผลสด (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตหม่อนผลสดและการส่งเสริมการผลิตหม่อนผลสด ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งเล็กน้อยเป็นเพศหญิง และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 49.06 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.41 คน มีประสบการณ์ผลิตหม่อนผลสดเฉลี่ย 2.29 ปี เกษตรกรมีรายได้และรายจ่ายในการผลิตหม่อนผลสดเฉลี่ยต่อปี 7,968.82 และ 1,811.36 บาท ตามลาดับ และสองในสามมีหนี้สิน แหล่งหนี้สินส่วนใหญ่มาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ถือครองพื้นที่ผลิตหม่อนผลสดต่ำกว่า 1 ไร่ โดยทั้งหมดปลูกหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ ใช้แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.17 คน และแรงงานจ้างเฉลี่ย 1.63 คนเพื่อการผลิตหม่อนผลสด ส่วนใหญ่ให้ปุ๋ยคอก และเกือบทั้งหมดไม่มีการใช้สารเคมีและไม่บังคับหม่อนให้ออกดอก ส่วนใหญ่ให้ผลผลิต 2 ครั้งต่อปี ผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 382.24 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนต่อไร่เฉลี่ย 6,881.60 บาท เกษตรกรประมาณหนึ่งในสามจำหน่ายผลผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรม (3) เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมระดับมากที่สุดในด้านการตลาดและด้านการบริการและการสนับสนุนด้านการผลิต มีความต้องการการส่งเสริมระดับมากในด้านความรู้และเทคโนโลยีทางวิชาการ โดยวิธีการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด คือ การจัดงานเทศกาลกินหม่อนผลสดในระดับจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับการระบุความต้องการส่งเสริมด้านการตลาดมากที่สุด (4) เกษตรกรมีปัญหาด้านการตลาดระดับมาก มีปัญหาด้านการผลิตและการส่งเสริมระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะที่เป็นประเด็นสาคัญ คือ ให้รัฐประกันราคา จัดหาแหล่งรองรับในการจำหน่ายผลผลิต เชื่อมโยงตลาดแบบครบวงจร ควรจัดทัศนศึกษาดูงานฟาร์มที่ประสบความสาเร็จ ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตหม่อนผลสดแบบครบวงจรและสนับสนุนระบบการผลิตที่มีมาตรฐานภายใต้ราคาที่ดีเป็นแรงจูงใจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2488
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146065.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons