กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2505
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนประกอบธุรกิจวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Feasibility study of the digital radio broadcasting business investment in Bangkok Metropolitan Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ
ภักดี มะนะเวศ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยุกระจายเสียง--ไทย--การลงทุน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการประกอบธุรกิจวิทยุกระจายเสียง ของประเทศไทย 2) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด ด้านเทคนิค และด้านการเงินของการลงทุนการประกอบธุรกิจวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลการศึกษาใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัยเพื่อสัมภาษณ์ผู้ประกอบการให้ได้ข้อมูลในด้านรายรับรายจ่ายของการประกอบธุรกิจวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิตอล และใช้การประเมินเชิงปริมาณด้วย มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน อัตราผลตอบแทนภายในและระยะเวลาคืนทุนผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการประกอบธุรกิจวิทยุกระจายเสียงของประเทศไทยมีสถานี วิทยุระบบ FM แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ดาเนินการโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่จา นวน 300 สถานี และกลุ่มสถานีวิทยุทดลองออกอากาศจา นวน 5,000 สถานี ทั้งนี้ การมีสถานีวิทยุจา นวนมากทา ให้เกิดปัญหาการรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ระหว่างกัน อย่างมาก 2) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านตลาดของธุรกิจวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลพบว่า มีจุดแข็งในเรื่องของคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น และมีบริการช่องและเนื้อหารายการที่หลากหลายขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่า ลง และมีการใช้งานทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นส่วนทางด้านเทคนิคพบว่า ย่านคลื่นความถี่วิทยุที่เหมาะสมคือ VHF Band III ตั้งแต่ 174 เมกะเฮิรตซ์ ถึง 230 เมกะเฮิรตซ์ และเทคโนโลยีวิทยุดิจิทัลที่เหมาะสม ใช้เทคโนโลยี DAB+ ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องให้คุณภาพเสียงที่ดี ทนทานต่อสัญญาณรบกวน สาหรับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินพบว่า มี ความเป็นไปได้ โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 14,078,805 บาท อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 23.39 อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.35 เท่า และระยะเวลาคืนทุนคิดลด 5.46 ปี จะเห็นได้ว่าการลงทุนประกอบธุรกิจวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิตอลดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทางการเงินด้วย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีความชัดเจนในเชิงนโยบายและการสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2505
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161935.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons