Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/250
Title: การประยุกต์ระบบจีพีเอส และการทำเหมืองข้อมูลเพื่อทำนายและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะบริการระหว่างจังหวัด
Other Titles: Application of GPS system and data mining to predict and prevent accident of inter-province public bus transportation
Authors: วิภา เจริญภัณฑารักษ์
เกรียงไกร เอี่ยมเลิศวงศ์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ดวงดาว วิชาดากุล
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
อุบัติเหตุทางถนน--การป้องกัน
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
ดาต้าไมนิง--พยากรณ์
การประมวลผลข้อมูลแบบออนไลน์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างระบบจัดการข้อมูลจีพีเอส โดยใช้เทคโนโลยีของบิกดาตา 2) พัฒนาแบบจําลองเพื่อทํานายการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะด้วยการทําเหมืองข้อมูล 3) สร้างโปรแกรมคัดกรองพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ วิธีดําเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) สร้างระบบจัดการข้อมูลจีพีเอส จากข้อมูลติดตามรถโดยสารสาธารณะระบบจีพีเอส ระหว่าง พ.ศ. 2555-2559 จํานวน 121,226,674 ระเบียน และข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ ระหวาง พ.ศ. 2556-2559 จํานวน 406 ระเบียน โดยการแบ่งชุดข้อมูล 2 แบบ คือ ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ และข้อมูลบุคคล เครื่องมือที่ใช้ คือ มองโกดีบี รุ่น 2.6.7 2) สร้างแบบจําลองเพื่อทํานายการเกิดอุบัติเหตุใช้วิธีแบ่งข้อมูลทดสอบ ด้วยอัลกอริทึมเคมีนส์ เพื่อจัดกลุ่มเสี่ยง และอัลกอริทึมอะไพโอริ เพื่อสร้างกลุ่มเฝ้าระวัง และต้นไม้ตัดสินใจ เพื่อจําแนกองค์ประกอบอุบัติเหตุของกลุ่มเสี่ยง เครื่องมือที่ใช้คือ เคไนม์ รุ่น 2.12 3) สร้างโปรแกรมคัดกรองพนักงานขับรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ เครื่องมือที่ใช้ คือ ไมโครซอฟท์ วิชวล ฟอกซ์โปร รุ่น 9.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) คลังข้อมูลระบบจีพีเอส มีประสิทธิภาพสามารถรองรับข้อมูลบิกดาตา การประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบรายงานมีความรวดเร็ว 2) สร้างแบบจําลองเพื่อ ทํานายการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ พบว่า การสร้างกลุ่มเสี่ยงด้วยวิธีแบ่งข้อมูลทดสอบได้ผลลัพธ์ของข้อมูลสร้างแบบจําลองและข้อมูลทดสอบเหมือนกัน และการหาความสัมพันธ์เพื่อสร้างกลุ่มเฝ้าระวัง จากการทดสอบประสิทธิภาพได้ค่าสหสัมพันธ์ มากกว่าหนึ่ง แสดงว่ากฎมีความสัมพันธ์มีความน่าเชื่อถือสําหรับสร้างแบบจําลองทํานายการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เพื่อประกอบการตัดสินใจ และคัดกรองพนักงานขับรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/250
Appears in Collections:Science Tech - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156052.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons