Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2524
Title: | โครงสร้างตลาด พฤติกรรมการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตเลียมเหลวในประเทศไทย |
Other Titles: | Market structure, conduct and performance of liquefied petroleum gas industry in Thailand |
Authors: | สุภาสินี ตันติศรีสุข ยุทธนา เอี่ยมสมบัติ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การแข่งขันทางการค้า ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของหน่วยธุรกิจ ปริมาณการจำหน่ายและส่วนแบ่งการตลาดของหน่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย 2) โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย 3) พฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย และ 4) ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย วิธีที่ใช้ในการศึกษา ลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรม ปริมาณการจำหน่ายและส่วนแบ่งการตลาดโดยวิเคราะห์จากเอกสารและปริมาณการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่รวบรวมโดยกรมธุรกิจพลังงาน ศึกษาโครงสร้างตลาดโดยวิเคราะห์จากค่าอัตราส่วนการกระจุกตัว ดัชนีเฮอร์ฟินดาล-เฮิร์ซแมน ดัชนีเฮนน่าแอนด์เคและอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของหน่วยธุรกิจรายใหม่ ศึกษาพฤติกรรมการแข่งขันโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยธุรกิจ จำนวน 30 ราย จากประชากร 20 บริษัทในช่วงเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2556 ศึกษาผลการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม ผลการศึกษาพบว่า 1) ตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีหน่วยธุรกิจ 20 บริษัทแบ่งเป็น หน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ 4 บริษัท ขนาดกลาง 7 บริษัท ขนาดเล็ก 9 บริษัท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีปริมาณการจำหน่ายและส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 2) โครงสร้างตลาดอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวจัดอยู่ในตลาดผู้ขายน้อยรายที่มีลักษณะของสินค้าเหมือนกัน มีค่าการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง มีค่า Cr4 เท่ากับ 0.84 ดัชนีเฮอร์ฟินดาล-เฮิร์ซแมนเท่ากับ 0.23 และดัชนีเฮนน่าแอนด์เคที่แสดงถึงหน่วยธุรกิจที่มีอิทธิพลในตลาด 4 รายและหน่วยธุรกิจรายใหม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดค่อนข้างสูง 3) พฤติกรรมการแข่งขันมีทั้งด้านราคาและไม่ใช่ราคา หน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ให้ความสำคัญกับการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคา ส่วนหน่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจะให้ความสำคัญกับการแข่งขันด้านราคา พฤติกรรมในการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคาที่หน่วยธุรกิจนิยมใช้มากที่สุดคือ การส่งเสริมการขายด้วยการให้ของสมนาคุณรองลงมาคือการให้สิทธิพิเศษตามปริมาณการสั่งซื้อ การให้ความรู้กับลูกค้าและ การโฆษณาตามลำดับ 4) ผลการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ในช่วงปี พ.ศ.2553-2555 มีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมเฉลี่ยมีค่า 1.71 หน่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมเฉลี่ยมีค่า -13.6 และ -218.96 ตามลำดับ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2524 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140169.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License