Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2542
Title: | ศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | Study of income change of farmers under the assets capitalization policy : the case study of Trakanphutpron Land Reform Beneficiaries, Ubonratchatanee Province |
Authors: | ศิริพร สัจจานันท์ วรรณภา ไชยทอง, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เกษตรกร--รายได้ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรหลังจากเข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน รวมถึงศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเฉพาะผู้ได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีที่ยังคงมีหนี้เงินกู้คงเหลืออยู่กับธนาคาร ณ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 (ปีบัญชี 2550) การศึกษานี้ได้ข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ตัวอย่าง และข้อมูลทุติยภูมิจากส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Method) และใช้การทดสอบด้วยเทคนิควิเคราะห์การถดถอย ได้แก่ การใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยตัวแปรอิสระ มีผลต่อตัวแปรตาม หรือ การเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่มีรายได้ทั้งภาคการเกษตรและรายได้นอกภาคการเกษตรอยู่ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นคือร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับรายได้ก่อนได้รับเงินกู้และมีเพียงบางส่วนที่มีรายได้ภาคการเกษตรและรายได้นอกภาคการเกษตรคงที่คือร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับรายได้ก่อนได้รับเงินกู้ และมีเพียงส่วนน้อยมากที่มีรายได้ลดลงคือร้อยละ 1 ซึ่งตัวแปรรายได้ก่อน กู้นอกภาคการเกษตรมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .012 ค่าใช้จ่ายภาคการเกษตรมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ.040 จำนวนการรอครองที่ดินมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .045 จำนวนเงินกู้ที่ได้รับในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .003 การเข้ารับการอบรมจากโครงการมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .045 ซึ่งสามารถนำมาใข้พยากรณ์รายได้หลังได้รับเงินกู้ภาคการเกษตรได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการของเกษตรกร ได้แก่ การได้รับเงินกู้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ไม่ได้รับการอบรมจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2542 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
119255.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License