กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/256
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาสำเร็จรูปศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายของสหภาพยุโรป |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems relating to unfair terms in adhesion contracts a study on Thai Law in comparison to European Union Law |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริศักดิ์ ศุภมนตรี ระณัชย์ อาทรธุระสุข, 2476- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วราภรณ์ วนาพิทักษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สัญญา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อบกพร่อง รวมทั้งหาวิธีแกไขเพิ่มเติม .พระราชบัญญัติว่าด้วย ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540” โดยการศึกษาเปรียบเทียบกบั “Directive 93/13/EEC” ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกบข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของสหภาพยุโรป และมีขอบเขตของการวิจัยโดยมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะ “ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม” ในสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพกบผู้บริโภค (หรือสัญญาผู้บริโภค) เท่านั้น โดยเฉพาะอยางยิ่ง “สัญญาสําเร็จรูป” หรือ “สัญญามาตรฐาน” การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์จากเอกสารข้อมูลภายในประเทศได้จากตัวบท กฎหมาย ตํารา บทความ และเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของไทย ส่วนข้อมูลของต่างประเทศส่วนใหญ่ได้จากการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ผลการวิจัยพบว่า ถึงแม้ “พระราชบัญญัติวาด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540“ มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคเป็นสําคัญ แต่ก็ยังขาดแนวความคิดและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนทั้งในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค และการวินิจฉัย ความไม่เป็นธรรมของข้อสัญญา เห็นได้ชัดจากกรณีชาวไร่ ชาวนา ที่ทําสัญญาขายผลิตผลทางการเกษตรของตน ให้แก่พ่อค้าคนกลาง ซึ่งควรได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายฉบับนี้กลับไม่ได้รับการคุ้มครอง และในส่วนของหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความไม่เป็นธรรมของข้อสัญญานั้น ก็มิได้บัญญัติในลักษณะที่มีผลชัดเจนว่า ข้อสัญญาใดที่จะถือวาไม่เป็นธรรมนั้นจะต้องไม่เป็นธรรมทั้งในกระบวนการทําสัญญาและในเนื้อหาของข้อสัญญา โดยเฉพาะอยางยิ่ง มิได้บัญญัติรายการตัวอย่างความไม่เป็นธรรมในเนื้อหาของข้อสัญญาให้เพียงพอสําหรับศาลไทยได้ใช้ในการ วินิจฉัยได้อย่างชัดเจน ่ หลังจากศึกษาจึงเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเสนอให้แยกบทบัญญัติ ออกเป็นสองภาค โดยแยก “สัญญาผู้บริโภค” และ “สัญญาธุรกิจขนาดเล็ก” ออกจากสัญญาอื่นๆ และจัดให้อยู่ในภาคหนึ่ง ส่วนสัญญาอื่นๆ รวมทั้งข้อตกลง ประกาศหรือคําแจ้งความ ความตกลงหรือความยินยอมนั้น ให้อยู่ในอีกภาคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติฯ ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้เนื่องจาก “Directive 93/13/EEC” เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับ “สัญญาผู้บริโภค” โดยตรง จึงควรใช้บทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้ประกอบกับข้อเสนอในรายงาน ของคณะกรรมาธิการฝ่ายกฎหมายของอังกฤษและคณะกรรมาธิการฝ่ายกฎหมายของสกอตแลนด์ เป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติม “พระราชบัญญัติวาด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540” เพื่อให้เกิดความชัดเจนในส่วนของ “สัญญา ผู้บริโภค” และ “สัญญาธุรกิจขนาดเล็ก” และเพียงพอต่อศาลไทยที่จะใช้ในการวินิจฉัยคดีได้อย่างเป็นธรรม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/256 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib152366.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License