Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2575
Title: | แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดยโสธร |
Other Titles: | Guidance for resolving the farmers welfare fund unpaid debts of farmers in Yasothon Province |
Authors: | อนุชา ภูริพันธ์ภิญโญ ทอแสง สุขส่ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ หนี้ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงสภาพทั่วไปของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดยโสธร ที่มีผลต่อการกู้ยืมเงินและการชำระคืนเงินกู้ของกลุ่มเกษตรกรที่กู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 2) ศึกษาถึง ปัญหาอุปสรรคในการส่งชำระคืนเงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 3) หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้าง ชำระหนี้ของกลุ่มเกษตรกรที่กู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือจำนวนกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดยโสธร ที่มีหนี้ค้างชำระกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร จำนวน 5 กลุ่มเกษตรกรโดยศึกษาจากกกลุ่มตัวอยางคือ คณะกรรมการดำเนินการและสมาชิกแกนนำ ของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดยโสธร ที่มีหนี้ค้างชำระจำนวน 5 กลุ่ม รวม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi -Structural Interview) โดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการ ดำเนินการและสมาชิกแกนนำ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา นำมาจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรและปัจจัยที่มี ผลกระทบต่อความสามารถในการส่งชำระคืนเงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ผลการของศึกษา พบว่า 1) การดำเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรและการบริหารจัดการภายในกลุ่ม เกษตรกรยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้ประสบกับปัญหาการขาดทุนและสภาพคล่องในการดำเนินงานของ กลุ่มเกษตรกร 2) กลุ่มเกษตรกรที่กู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ส่วนใหญ่ไม่สามารถส่งชำระหนี้คืน กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และไม่สามารถเก็บหนี้ เงินกู้จากสมาชิกได้ เพราะสมาชิกมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 3) แนวทางการแก้ไข ปัญหาหนี้ค้างชำระ เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ควรติดตามแนะนำเรื่องการบริหารจัดการภายในกลุ่ม เกษตรกรให้มีประสิทธิภาพ และวางแผนในการแนะนำส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและการติดตามเร่งรัดหนี้จากกลุ่ม เกษตรกร อย่างต่อเนื่องเป็นระบบและใกล้ชิดกับกลุ่มเกษตร ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ยโสธร จึงควรวางแนวทางในการแนะนำส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกำหนดแนวทางหลักเกณฑ์การพิจารณาการ จ่ายเงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ขออนุมัติเงินกู้ ให้รัดกุมและเป็นไปตามความต้องการ ของกลุ่มเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันปัญหาหนี้ค้างชำระเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรต่อไป |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2575 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146704.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License