Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2578
Title: | การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Analysis of factors affecting demand for using motorcycle of consumers in Bangkok Metropolis |
Authors: | สุภาสินี ตันติศรีสุข วิเชษฐ แซ่ว่อง, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ จักรยานยนต์--การตลาด การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภครถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของอุปสงค์กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือการวิจัยโดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีและไม่มีรถจักรยานยนต์ จำนวน 500 คน ในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 - มกราคม พ.ศ. 2552 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาใช้วิธีคำนวณค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สมการถดถอยแบบลอจิสติคผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีรถจักรยานยนต์ 400 ราย (ร้อยละ 80) ไม่มีรถจักรยานยนต์ 100 ราย (ร้อยละ 20) ผู้ที่มีรถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-34 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส./ปวท. อาชีพพนักงานบริษทเอกชนรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 - 10,000 บาทซื้อด้วยวิธีเงินผ่อน ซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 35,000 - 40,000 บาท เป็นรถประเภทครอบครัว ชนิดเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ขนาดเครื่องยนต์ 101 - 125 ชีซี ตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง โดยสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุดระยะทางเฉลี่ยที่ใช้ 15-30 กิโลเมตรต่อวัน วัตถุประสงค์หลักคือใช้เป็นยานพาหนะไปประกอบอาชีพ ช่วงเวลาที่ใช้รถจักรยานยนต์ 18.01 - 21.00 น. (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร คือ ราคา รายได้ เพศ อายุ และระดับการศึกษาที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ซื่งสอดคล้องกับสมมติฐาน (3) ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคารถจักรยานยนต์ถ้าราคารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 1 หน่วย (100 บาท) ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์จะลดลงร้อยละ 0.5 ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับรายได้ของผู้บริโภค เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น1 หน่วย (100 บาท) ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความแตกต่างกันในระหว่างเพศ โดยเพศชายมีอุปสงค์ต่อการใช้รถจักรยานยนต์เป็น 2.724 เท่า ของเพศหญิง ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์จะลดลงร้อยละ 7.9 ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับการศึกษา เมื่อระดับการศึกษาสูงขึ้นปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 58.7 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2578 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
119822.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License