กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2583
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจแปรรูปข้าวของสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Supply chain process of rice processed business of Bo-Ra-bue Agricultural Cooperative Limited, Mahasarakham Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ ธนศักดิ์ โพธีร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด ข้าว--การแปรรูป--ไทย สหกรณ์การเกษตร--ไทย--มหาสารคาม การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการห่วงโซ่อุปทาน (2) เพื่อ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการ จัดการห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจแปรรูปข้าวของสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารและฝ่ายจัดการของสหกรณ์ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ สหกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์ รองผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโรงสี และผู้ช่วย ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสินเชื่อของสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบการสังเกตการณ์การปฏิบัติงาน ของกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ผลการศึกษา พบว่า (1) กระบวนการห่วงโซ่อุปทาน เริ่มต้นจากธุรกิจส่งเสริม การเกษตรที่ส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ผลิตข้าวที่มีคุณภาพ ถัดมาเป็นธุรกิจการรวบรวบข้าวเปลือก จากสมาชิกสหกรณ์ เพื่อจัดเก็บข้าวเปลือกบางส่วนไว้สำหรับการผลิตข้าวสารบรรจุถุงเพื่อจำหน่าย โดยฝ่ายโรงสีข้าว เมื่อได้รับคำสั่งซื้อ จะทำการสั่งซื้อข้าวเปลือกตามชนิดที่ลูกค้าต้องการจากศูนย์ รวบรวมข้าวเปลือกของสหกรณ์เพื่อทำการแปรสภาพข้าวและบรรจุถุง ส่วนการจำหน่ายข้าวสาร บรรจุถุงนั้น สหกรณ์จัดส่งให้ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคตามคำสั่งซื้อและจัดเก็บไว้เพื่อจำหน่าย แก่ผู้บริโภคที่ศูนย์จำหน่ายของสหกรณ์ ซึ่งกระบวนการต่างๆ มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันไปตลอด ห่วงโซ่อุปทาน (2) ปัญหาอุปสรรคที่พบในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน คือ สินค้าคงคลังมีปริมาณมาก วัตถุดิบมีราคาสูง การบรรจุข้าวสารถุงไม่ทันเวลา และการขนส่งยังไม่มีประสิทธิภาพ (3) สหกรณ์ ยังไม่ได้นำแนวคิดในเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน จึงควรศึกษา และนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในอนาคต |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2583 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130315.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License