Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2589
Title: | นโยบายและมาตรการสวัสดิการแรงงานต่างด้าวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชามาสู่ประเทศไทย |
Other Titles: | Welfare policy and measures regarding foreign labours towards labour migration from Republic of the Union of Myanmar, the Lao People's Democratic Republic and Kingdom of Cambodia to Thailand |
Authors: | มนูญ โต๊ะยามา ศศิวิมล ตันติวุฒิ, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สวัสดิการลูกจ้าง--ไทย แรงงานต่างด้าวกัมพูชา--ไทย แรงงานต่างด้าวพม่า--ไทย แรงงานต่างด้าว--ไทย การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน และ (3) นโยบายและมาตรการสวัสดิการแรงงานต่างด้าวที่มีนัยต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชาสู่ประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายปี ระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึง 2558 โดยข้อมูลจำนวนแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือที่รวบรวมจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหาแรงงาน และข้อมูลรายได้ต่อหัวอัตราการว่างงาน ค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งรวบรวมจากข้อมูลสถิติของธนาคารโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติในรูปของสมการถดถอยเชิงซ้อน ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2559 แรงงานสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทไร้ฝีมือและจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 แรงงานตามมาตรา 12 มีจำนวนน้อยที่สุดและเพิ่มขึ้น ในอัตราค่อนข้างคงที่ แรงงานตามมาตรา 13 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2540 - 2545 และ 2556 (2) ปัจจัยที่ส่งผลในทิศทางเดียวกันต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานของทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ รายได้ต่อหัวของประเทศไทยส่งผลที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เท่ากันและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย ส่งผลต่อแรงงานเมียนมาและลาวที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ กัมพูชา ที่ระดับสำคัญ 0.1 ด้านอัตราการว่างของประเทศไทย ส่งผลในทิศทางเดียวกันต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานลาวและกัมพูชา ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.1 ตามลำดับ ในขณะที่รายได้ต่อหัวของประเทศต้นทางมีเฉพาะของราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานกัมพูชา ที่ระดับนัยสำคัญ 0.1 และอัตราการว่างงานของประเทศต้นทาง ส่งผลในทิศทางเดียวกันต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเมียนมาและลาว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.1 เท่ากัน และ (3) สวัสดิการด้านสุขภาพเป็นปัจจัยที่มีนัยในทิศทางเดียวกันต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานทั้ง 3 ประเทศ มาสู่ประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 ในขณะที่สวัสดิการด้านการศึกษาของประเทศไทยไม่มีนัยต่อการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากทั้ง 3 ประเทศ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2589 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
157898.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License