กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2591
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Satisfaction of Prathom Suksa V-VI students of Veeranat Suksa Foundation School with instructional management of the Career-Oriented Learning Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์
ศิรินาถ ส่งแสง, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักเรียน
ความพอใจ
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ ที่มีต่อจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำแนกตามเพศ และระดับผลการเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมเอกชน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 169 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ตามตารางประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ระดับค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.66 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าความแปรปรวน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โดยรวมและรายด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ดังนี้ ด้านหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ด้านวิธีการสอนด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและการประเมินผล และ 2 ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ พบว่า นักเรียนที่มีเพศและระดับผลการเรียนต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2591
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons