กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2595
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยภายใต้ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาค กรณีไทย-สหรัฐอเมริกา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between exchange rate and interest rate under the interest rate parity theory : a case of Thai-The United State |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิญญา วนเศรษฐ ศักดิ์เศรษฐ์ อินทรถาวร, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี อัตราแลกเปลี่ยน--ไทย อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาพรวมของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตรา ดอกเบี้ยของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐกับอัตราดอกเบี้ย โดยเปรียบเทียบของไทยและสหรัฐอเมริกาตามทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาคการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและศึกษาภาพรวมของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา และ 2) การศึกษาเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย อัตราส่วนเพิ่มหรือส่วนลดของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าระยะเวลา 3 เดือน และอัตราดอกเบี้ยของเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายวันในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554ผลการศึกษาพบว่า 1) การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน หรือค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงกลางจนถึงปลายปี พ.ศ. 2553 จากนั้นค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่ คือ แกว่งตัวอยู่ในช่วง 30.00-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการเคลื่อนไหวอัตราดอกเบี้ยพบว่ามีความแตกต่างระหว่างไทยและสหรัฐฯ กล่าวคืออัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีส่วนต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จากระดับร้อยละ 0.7 ถึงร้อยละ 2.6 2) ผลการทดสอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพบว่า ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนกับอัตราดอกเบี้ยโดยเปรียบเทียบระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยต่ออัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ นั้น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนมีระยะเวลาล่าช้า 1 วัน กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในวันถัดไป 1 วัน |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2595 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
129116.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License