กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2610
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบยาเพื่อความปลอดภัยด้านยาในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a medication management system for medication safety in the Emergency Department, Phibun Mangsahan Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์ กีระพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกฉัตร ทองเทพ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
ระบบสารสนเทศ
ยา
สารสนเทศทางการแพทย์
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบยาที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร การวิจัยทำในโรงพยาบาลพิบูลมังสาหารระหว่างเดือน ตุลาคม 2559–พฤษภาคม 2560 แบ่งเป็น 3 ระยะ (1) ระยะเตรียมการ ผู้วิจัยศึกษาบริบทของหน่วยงาน ประชุมคณะทำงานต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบกิจกรรมการพัฒนาและประกาศนโยบาย และกำหนดเป้าประสงค์การพัฒนาความปลอดภัยด้านยางานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (2) ระยะพัฒนา ทำการพัฒนาระบบยาให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาที่กำหนด ดำ เนินการและประเมินผลตามวงรอบการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนบรรลุเป้าประสงค์ และ (3) ระยะยุติการศึกษา ทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่อประเมินผลและสรุปการพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 สภาพปัญหาและข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ในบริบทจริงเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่เป็นความเสี่ยงให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา นำมาสู่การยกระดับปัญหาเพื่อแก้ไข ได้แก่การประกาศนโยบาย การสนับสนุนทรัพยากร การกำหนดทิศทางในการพัฒนา และการจัดตั้งทีมพัฒนา ระยะที่ 2กระบวนการบริหารยามีความปลอดภัยโดยเฉพาะการบริหารยาฉีด ระบบสนับสนุนยาภายในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินที่สารองยาเฉพาะยาที่ต้องใช้กรณีเร่งด่วน จำกัดการเข้าถึงยาเพื่อให้เกิดการตรวจสอบซ้า การบันทึกเวชระเบียนคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการบริการผู้ป่วยระหว่างงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินและจุดบริการอื่นๆ การขยายผลกิจกรรมคุณภาพจากคลินิกเด็ก ระยะที่ 3 ระบบการปฏิบัติงานสามารถจำกัดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาระดับถึงตัวผู้ป่วยตามตัวชี้วัดที่กำ หนดใน 4 รอบพัฒนา และไม่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่เป็นตัวชี้วัดซ้ำภายในระยะเวลา 2 เดือน จึงพิจารณายุติการศึกษาครั้งนี้ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้มุ่งจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับถึงตัวผู้ป่วย แต่ยังพบเหตุการณ์ที่ไม่ถึงตัวผู้ป่วยแต่มีศักยภาพให้เกิดอันตรายรุนแรงได้จึงต้องพัฒนาระบบจากความเสี่ยงดังกล่าวในโอกาสต่อไป
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2610
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons