กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2622
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการดำเนินธุรกิจสินเชื่อระหว่างสหกรณ์การเกษตรกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparison of the lending businesses of agricultural cooperatives and credit union cooperatives in Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธำรงค์ ไก่ฟ้า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สินเชื่อเกษตร--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
สินเชื่อเกษตร
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน--ไทย
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบผลการดำเนินธุรกิจสินเชื่อของสหกรณ์ การเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 2) ศึกษาวิธีปฏิบัติงานสินเชื่อ และเปรียบเทียบวิธีปฏิบัติงานสินเชื่อของ สหกรณ์ทั้ง 2 ประเภท 3) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานสินเชื่อในขั้นตอนต่างๆ กับผลการดำเนิน ธุรกิจ 4) ศึกษาข้อปฏิบัติที่เป็นปัจจัยเสริมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของธุรกิจ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ สหกรณ์การเกษตรที่ดำเนินธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 11 แห่ง และ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำนวน 15 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลทางการเงินของ สหกรณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการดำเนินธุรกิจสหกรณ์การเกษตรมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยน 2 ด้าน คือ ด้านปริมาณธุรกิจ และด้านกำไรเฉพาะธุรกิจ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 35.56 และ ร้อยละ 22.43 ส่วนสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 10.93 และ ร้อยละ 11.79 ตามลำดับ แต่ด้านการ ชำระหนี้ถึงกำหนดชำระของสมาชิก สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีอัตราการชำระหนี้สูงกว่าสหกรณ์การเกษตร คือมี อัตราการชำระเฉลี่ย ร้อยละ 78.21 และร้อยละ 62.14 ตามลำดับ 2) วิธีปฏิบัติงานสินเชื่อ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมี จำนวนสหกรณ์ที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สูงกว่าสหกรณ์การเกษตรทั้ง 3 ขั้นตอน โดยจำนวนสหกรณ์ที่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์เปรียบเทียบกันคือ ขั้นตอนก่อนการให้เงินกู้ ร้อยละ 91.13 ต่อ 74.73 ขั้นตอนการพิจารณาเงินกู้ ร้อยละ 95.33 ต่อ 76.36 และขั้นตอนหลังการให้เงินกู้ ร้อยละ 63.33 ต่อ 62.82 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงาน สินเชื่อกับผลการดำเนินธุรกิจ พบว่าสหกรณ์ทั้ง 2 ประเภท ปริมาณธุรกิจและผลกำไรเฉพาะธุรกิจ มี ความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนการให้เงินกู้ ขั้นตอนการพิจารณาเงินกู้ และขั้นตอนหลังการให้เงินกู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนอัตราการชำระหนี้ถึงกำหนดชำระของสมาชิกไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณ กำไรเฉพาะธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แต่การปฏิบัติขั้นตอนก่อนการให้เงินกู้และขั้นตอนหลังการให้ เงินกู้ มีความสัมพันธ์กับปริมาณธุรกิจสินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) ปัจจัยเสริมที่มีผลต่อธุรกิจสินเชื่อ คือการสร้างขวัญกำลังใจแก่ฝ่ายจัดการและการจัดสวัสดิการแก่สมาชิก
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2622
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130310.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons