กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2629
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์งบการเงินและการนำไปใช้ในการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Financial statement analysis and usage in financial management of the Loei Teacher savings and Credit Cooperatives Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ส่งเสริม หอมกลิ่น นงคราญ ศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย จำกัด--การเงิน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย จำกัด 2) เสนอแนะการนำผลการวิเคราะห์งบการเงินไปใช้ในการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย จำกัดวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบแสดงฐานะการเงินงบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ของสหกรณ์ในช่วงปีบัญชี 2557 – 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์ตามแนวโน้ม และการวิเคราะห์ CAMELS โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยสหกรณ์ออมทรัพย์ จากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในช่วงปี 2557 – 2561 สหกรณ์มีกำไรต่อเนื่อง ด้านสินทรัพย์สหกรณ์ลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมระยะยาวด้านหนี้สินสหกรณ์มีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินไม่หมุนเวียน ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมระยะสั้นแต่ในปี 2560 - 2561 เงินกู้ยืมมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ทุนของสหกรณ์มีอัตราส่วนร้อยละ 29.35 - 33.73 ของหนี้สินและทุนของสหกรณ์ การวิเคราะห์ CAMELS ใน 6 มิติ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ในปี 2557 – 2560 และขนาดใหญ่พิเศษในปี 2561 พบว่า มิติที่ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง มีความเสี่ยงเนื่องจากสหกรณ์มีอัตราหนี้สินต่อทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ย แสดงว่าสหกรณ์มีหนี้สินมากกว่าทุน มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์ อัตราหมุนของสินทรัพย์สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหาร สหกรณ์มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 4 การทำกำไร ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่อัตราการออมต่อสมาชิกสูงกว่าหนี้สินต่อสมาชิก มิติที่ 5 สภาพคล่อง สัดส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนสูงกว่าหนี้สินหมุนเวียน สหกรณ์มีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น มิติที่ 6 ผลกระทบในการดำเนินธุรกิจ สหกรณ์ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยจากแหล่งเงินกู้ภายนอก และคู่แข่งขันของสหกรณ์ 2) การนำไปใช้ในการบริหารการเงิน ด้านการวางแผนสหกรณ์สามารถใช้ข้อมูลเป็นแนวทางเพื่อพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร ความต้องการเงินทุน การจัดหาเงินทุนและแผนการใช้เงินทุน เพื่อนำมาสู่การจัดทำแผนการเงินซึ่งจะต้องตรงกับความเป็นจริง ถูกต้อง สามารถนำมาสู่การปฏิบัติได้จริง ด้านการควบคุม สหกรณ์ควรมีการจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงเกินความจำเป็น เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงแสดงถึงประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานซึ่งจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ โดยพิจารณาควบคู่ไปกับแผนงบประมาณรายจ่ายของสหกรณ์ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2629 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161361.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 28.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License