Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2636
Title: การวิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน : กรณีศึกษา "กรมส่งเสริมสหกรณ์"
Other Titles: An analysis of Thai Cooperative movement from past to present time : a case study "Cooperative Promotion Department"
Authors: ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิทยา พุกจินดา, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมส่งเสริมสหกรณ์
สหกรณ์--ประวัติ.--ไทย
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยศึกษาและวิเคราะห์กรมส่งเสริมสหกรณ์ และเพื่อศึกษาปัญ หาและแนวทางการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ไทย โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ เก็บข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์โดยรวบรวมเอกสารและข้อมูล (Documentary Research) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ซึ่งได้จากเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมข้อมูลจากเว็บไชค์ของทางราชการ สหกรณ์และเอกชน รวมทั้งดูจากวารสาร ตำรา รายงานเอกสารการวิจัย แล้ววิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยโดยใช้บริบท เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและวิเคราะห์กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยใช้ทฤษฎี McKinsey's 7 s S Model ผลการวิจัย พบว่า การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี จะมีผลสะท้อนออกมาในรูปของนโยบายรัฐบาล ตั้งแต่อดีตแรกตั้ง สหกรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นต้นมา สหกรณ์และการล่งเสริมสหกรณ์เป็นนโยบายของรัฐสู่ภาคประชาชนตามนโยบายของผู้นำประเทศไม่ว่าจะเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชหรือรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมบุญ สหกรณ์คือโรงเรียนสอนระบบประชาธิปไตยและเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจของประเทศ สหกรณ์คือ องค์กรแก้ปัญหาปัจจัยการผลิต การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของไทยจากอารยธรรมความเจริญ ทางตะวันตก ที่เข้ามาปะปนกับวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทย สหกรณ์คือ องค์กรแก้ปัญหาชนชั้น พร้อมทั้งเทคโนโลยีที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การวิเคราะห์ปัจจัยภายในของกรมล่งเสริมสหกรณ์ โดยใช้ทฤษฎี McKinsey's 7 s s Model แยกวิเคราะห์ในเรื่องคุณค่าร่วม (Shared Values) แผนยุทธศาสตร์ (Strategy) โครงสร้าง (Structure) บุคลากร (Staff) ทักษะ (Skill) ระบบ (System) และรูปแบบของผู้บริหาร (Style) ทั้งหมดจะสะท้อนออกมาในลักษณะนโยบายการส่งเสริมสหกรณ์ของกรมล่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งจะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน มีจุดมุ่งหมาย มีวิธีการ แผนการ โครงการ มีระบบรองรับภารกิจ มีบุคลากรที่มีศ้กยภาพและความชำนาญ พร้อมที่จ ะสร้างคุณค่าการส่งเสริมสหกรณ์โดยมีนโยบายของผู้บริหารเป็นตัวผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม และเกิดผลต่อขบวนการสหกรณ์ ข้อเสนอแนะ การส่งเสริมสหกรณ์ควรเป็นนโยบายที่แน่ชัดจากรัฐบาล การส่งเสริมสหกรณ์ควรได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากสหกรณ์ การส่งเสริมสหกรณ์ควรทำเป็นระบบและเชื่อมโยงเครือข่ายกาส่งเสริมสหกรณ์ ระหว่างสหกรณ์กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่ง ประเทศไทย และควรส่งเสริมสหกรณ์ตามมาตรฐานและขนาดของสหกรณ์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2636
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-112812.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons