กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/263
ชื่อเรื่อง: สิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานของประเทศในกลุ่มสมาคมอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The right and the freedom for labour union establishment in Asean
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิติพงศ์ หังสพฤกษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กำจร นากชื่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิสิษฐ เขาทอง, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
สหภาพแรงงาน -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์เรื่อง สิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานของประเทศในกลุ่มสมาคม อาเซียน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ความหมาย วิวัฒนาการ และประเภทของสหภาพแรงงาน (2) เพื่อศึกษาเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานตามกฎหมายระหว่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานตามกฎหมายไทย (4) เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานตามกฎหมายของประเทศต่างๆ ในสมาคมอาเซียน (5) เพื่อเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานตาม กฎหมายไทยกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายของ ประเทศต่างๆ ในอาเซียน เพื่อสังเคราะห์เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของไทย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจาก หนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎี บทความทางกฎหมาย เว็บไซด์ต่างๆ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ จากการศึกษาพบว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน บางประเทศ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกบอนุสัญญาฉบับที่ 87 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งผู้วิจัยขอเสนอแนะให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ดังนี้ (1) สิทธิในการจัดตั้งสหภาพ แรงงาน ให้สิทธิลูกจ้างทุกคนสามารถรวมตัวกันจัดตั้งได้ รวมทั้งลูกจ้างที่ไม่มีสัญชาติไทย (2) การจดทะเบียน สหภาพแรงงาน ลดอำนาจนายทะเบียนจากระบบจดทะเบียนเป็นระบบการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร (3) สมาชิก สหภาพแรงงาน ให้สิทธิลูกจ้างทุกคนสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ตนเลือกได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ (4) กรรมการสหภาพแรงงาน ให้สิทธิลูกจ้างทุกคนสามารถเป็นกรรมการสหภาพได้ โดยไม่มีเงื่อนไขทางสัญชาติ (5) การจัดตั้งสหพันธ์แรงงาน ให้สิทธิสหภาพแรงงานตั้งแต่สองสหภาพขึ้นไปจัดตั้งสหพันธ์แรงงานได้ โดยไม่จำกัดประเภทของสหภาพแรงงานและไม่ต้องจดทะเบียน (6) การเลิกสหภาพแรงงาน ลดอำนาจนายทะเบียนในการสั่งเลิกสหภาพแรงงาน โดยให้เป็นอำนาจของศาลแรงงานในการสั่งเลิก รวมทั้งได้เสนอแนะให้ แก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และจัดทำข้อตกลงหรือกฎเกณฑ์ร่วมกันระดับอาเซียนเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/263
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib149468.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons