กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2641
ชื่อเรื่อง: ความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองตาก จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Debt repayment ability of the members of Mueang Tak Agricultural Cooperative Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤมล คำทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระหนี้
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
หนี้
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร 2) ความสามารถ ในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร 3) ปัญหาและอุปสรรคในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร และ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์กับปัญหาและอุปสรรค ต่อความสามารถในการชำระหนี้ ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ประชากรที่ศึกษาคือ สมาชิกที่เป็นลูกหนี้ของสหกรณ์การเกษตรเมืองตาก จำกัด จำนวน 390 คน กำหนด ขนาดตัวอย่างจำนวน 200 ราย โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ย์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบทีและ การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกที่กู้ยืมเงินสหกรณ์ส่วนใหญ่เพศชาย อายุอยู่ในช่วงระหว่าง 51 – 60 ปี การศึกษาระดับประถม สถานภาพสมรสและอยู่ด้วยกัน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน ระยะเวลาการเป็นสมาชิกของ สหกรณ์ น้อยกว่า 5 ปี จำนวนบุตรที่ต้องส่งเรียนหนังสือในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่มี และไม่มีภาระที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา ญาติพี่น้อง ปัจจุบันไม่มีภาระหนี้สินนอกระบบ มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาท 2) สมาชิกส่วนใหญ่ กู้เงินระยะสั้นและใช้บุคคลค้ำประกันเงินกู้ ส่วนใหญ่ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์มากกว่าร้อยละ 70 เมื่อนำเงินกู้ไปใช้แล้วมีพนักงานสหกรณ์ได้ออกไปตรวจสอบการใช้เงินกู ้ ส่วนใหญ่สมาชิกจะได้รับใบเตือนหนี้ให้ไป ชำระในรอบปี 1 ครั้ง ส่วนการติดตามเร่งรัดหนี้ในปี ที่ผ่านมาไม่ได้รับ สาเหตุที่ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สหกรณ์ สาเหตุมาจากประสบภัยธรรมชาติ และประกอบอาชีพขาดทุน 3) ปัญหาและอุปสรรคในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ การเกษตร ได้แก่ ด้านที่เกิดจากสมาชิกสหกรณ์อยู่ในระดับน้อย ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อปัจจัยการผลิตต่าง ๆ (ค่าปุ๋ย) ด้านที่เกิดจากเจ้าหน้าที่สหกรณ์อยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการบริการทำเรื่องขอกู้เงินใหม่ทันที หลังจากรับชำระหนี้แล้ว ด้านที่เกิดจากผลผลิตได้รับความเสียหาย เนื่องจากภัยธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วน ใหญ่เกิดจากฝนแล้ง และด้านที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อยู่ในระดับน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากราคาผลผลิตตกต่ำ 4) การ เปรียบเทียบความแตกต่างสภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์กับปัญหาและอุปสรรคของสมาชิกต่อความสามารถในการชำระ หนี้ของสหกรณ์การเกษตรเมืองตาก จำกัด พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระยะเวลาการเข้ามาเป็นสมาชิก จำนวนบุตรที่ต้องส่งเรียนหนังสือ ภาระที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู บิดา ญาติพี่น้อง ภาระ หนี้สินนอกระบบ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน ประเภทเงินกู้ การค้ประกันเงินกู้การนำเงินกู้ไปใช้จ่าย การ ออกไปตรวจสอบการใช้เงินกู้ การได้รับใบเตือนหนี้ การติดตามเร่งรัดหนี้ในรอบปีสาเหตุที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตาม กำหนด ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัญหาและอุปสรรคของสมาชิกต่อความสามารถ ในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ การเกษตรเมืองตาก จำกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2641
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140942.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons