กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2668
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์พื้นฐานในจังหวัดอุตรดิตถ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting demand of fixed-line telephone in Uttaradit |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม ศุภวัณณ์ มงคลสวัสดิ์, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี โทรศัพท์--ไทย--อุตรดิตถ์ การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ผ่านมา มีการพัฒนาขยายเพิ่มมาก และมีการให้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ นโยบายเปิดเสรีการค้าการบริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ส่งผลต่อการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน โดยเฉพาะภูมิภาคยอดการเจริญเติบโตของโทรศัพท์ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นมาก ทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตภูมิภาคสมควรที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อโทรศัพท์พื้นฐาน จากข้อมูลคำขอจองเลขหมายในพื้นที่เขตโทรศัพท์ภาคเหนือที่ 3 พบว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มียอดคำขอจอง จำนวนใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ของยอดรวมมากที่สุด ประกอบกับ เป็นจังหวัดที่มีสภาพพื้นที่การให้บริการหลากหลายแตกต่างกัน เป็นชุมชนหนาแน่นในเขตอำเภอเมือง เป็นภูเขาในโซนตอนเหนือของจังหวัด และพื้นที่ราบในโซนตอนใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ในการศึกษาครั้งนี้จึงจะทำการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์พื้นฐานในจังหวัดอุตรดิตถ์ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐานในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ว่าปัจจัยที่กระทบต่างๆ มีผลอย่างไร ต่อความต้องการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐาน การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ โดยรวบรวมข้อมูลจากภาครัฐและเอกชน นำปัจจัยต่างๆ ทีมีผลต่อ อุปสงค์โทรศัพท์พื้นฐานในจังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วงปี 2536-2345 ได้แก่ข้อมูลรายละเอียดผู้ให้บริการกิจการโทรศัพท์พื้นฐาน ปริมาณความต้องการ ข้อมูลด้านราคาโทรศัพท์พื้นฐาน ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประชากร รายได้ต่อหัวต่อปี จำนวนธุรกิจจดทะเบียนนิติบุคคล และจำนวนครัวเรือน มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดย วิธีการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย อุปสงค์ของโทรศัพท์พื้นฐานในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าปัจจัยที่มีผลคือ รายได้จริงต่อปีของประชากร เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้าม และจำนวนธุรกิจจดทะเบียนนิติบุคลจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกันกับจำนวนความต้องการโทรศัพท์พื้นฐาน ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากพบว่า มีบริษัทหรือหน่วยต่างๆ ตั้งขึ้นใหม่ ควรจะเข้าไปติดต่อสอบถามความต้องการ ทำการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการต่างๆ ให้รวดเร็ว ให้ผู้บริโภคมีความพึงพอใจประทับใจในบริการ และนำบริการเสริมต่างๆ มาเสริมให้บริการในโทรศัพท์พื้นฐานในส่วนที่ขีดความสามารถของโทรศัพท์เคลื่อนไม่สามารถให้บริการได้ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2668 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License