Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/267
Title: | ความล้มเหลวในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 |
Other Titles: | The failure in election of Members of the House of Representatives on February 2, 2014 |
Authors: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประยุทธ บุญตะโก, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. วรวลัญช์ โรจนพล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--การเลือกตั้ง ความขัดแย้งทางการเมือง |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา (1) สภาพแวดล้อมและบริบททางสังคมการเมืองในช่วงก่อนการบริหารจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 (2) ปัจจัยซึ่งเป็นสาเหตุของความล้มเหลวในการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 (3) การบริหารจัดการการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 และ (4) ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเลือกกลุ่มประชากรตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบสัมภาษณ์และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา วิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพแวดล้อมและบริบททางสังคมการเมืองในช่วงก่อนการบริหารจัดการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 เกิดความขัดแย้งของขั้วอำนาจทางการเมือง 2 ฝ่ายเกี่ยวกับการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงและกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมือง (2) การบริหารจัดการการเลือกตั้งท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกลายเป็นการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นกลุ่มต่างๆในสังคม การสร้างกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองด้วยการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยทางการสื่อสารมาใช้ในการติดต่อสื่อสารของกลุ่มต่างๆในสังคมมีความฉับไวก้าวไกลไปทุกพื้นที่ในทุกเขตปกครอง เกิดการรวมกลุ่มของกลุ่มต่างๆอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ไม่สามารถจัดการการเลือกตั้งให้สำเร็จได้ตามกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (3) การปะทะกันของกลุ่มต่างๆในสังคมในระหว่างการจัดการการเลือกตั้ง นับว่าเป็นความขัดแย้งรุนแรงทางสังคมการเมือง จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรควรจะต้องเริ่มจากการสร้างความปรองดองด้วยการจัดกิจกรรมผ่านทางสังคมโดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวของประชาชน นักการเมือง และกลุ่มต่างๆในสังคม และจะต้องใช้แนวทางนิติรัฐ ซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจรัฐในการปกครองประเทศในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/267 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
160969.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License