กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2701
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to saving decision of members of Saving Cooperative of Public Health Krabi Province Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจิตรา รอดสมบุญ
นุชนาฏ พรสุริยา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่--สมาชิก--การเงินส่วนบุคคล
การออมกับการลงทุน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด ที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงิน 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงิน และ 3) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด ประชากรที่ศึกษา คือสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด ณ วันสิ้นปี บัญชี 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 2,884 รายศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 351 รายได้จากการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 – 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส อาชีพรับราชการ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 10 ปี ขึ้นไป รายได้ของครัวเรือนต่อเดือน มากกว่า 30,000 บาท รายจ่ายของครัวเรือนต่อเดือน มากกว่า 15,000 บาท จำนวนผู้มีรายได้ในครอบครัว 2 คน ขนาดของครอบครัวมากกว่า 3 คน จำนวนหนี้สินทั้งหมด มากกว่า 200,000 บาท และสาเหตุที่เลือกออมเงินกับสหกรณ์ เพราะได้รับเงินปันผล การตัดสินใจออมเงิน พบว่า ส่วนใหญ่มีการออมประเภทเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปจำนวนเงินออมต่อครั้ง 1,001 – 5,000 บาท จำนวนเงินออมรวมในสหกรณ์ 10,001 – 50,000 บาท จำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน 1,001 – 5,000 บาท มีรูปแบบการออมเงินคือ การออมเงินแบบฝากออมทรัพย์และวัตถุประสงค์ของการออมเงิน เพื่อใช้ยามฉุกเฉินหรือเจ็บป่วย 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า โดยรวมสมาชิกมีระดับการตัดสินใจต่อการใช้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจออมเงิน คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส สถานภาพของบุคลากร ระยะเวลาการเป็นสมาชิก รายได้ หนี้สินทั้งหมด และสาเหตุที่เลือกออมกับสหกรณ์ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ ออมเงิน คือ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ 3) ข้อเสนอแนะคือ ควรเปิดบริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และควรปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการให้บริการแก่สมาชิกให้มีความทันสมัยมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2701
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
164436.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons