กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2712
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between value added tax and economic growth of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัทฌา สุธาสันติรักษ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม -- ไทย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย และ (2) ความสัมพันธ์เชิงเป็นเหตุเป็นผลระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มและการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลอนุกรมเวลาของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม รายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2536 ถึงไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2557 รวม 88 ไตรมาส ด้วยการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ โดยการทดสอบความนิ่งของข้อมูล ทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะ ยาว และความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลการศึกษา พบว่า (1) ลักษณะภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยจัดเก็บได้มากกว่าภาษี ประเภทอื่นๆ โดยปีงบประมาณ 2559 จัดเก็บได้สูงกว่าปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.1 และมีแนวโนม้ ขยายตัว ร้อยละ 2 ในระยะเวลา 2 – 3 ปี และเป็นการจัดเก็บจากการบริโภคเป็นหลักใช้การคำนวณภาระภาษีด้วย วิธีเครดิต โดยนำภาษีขายลบดด้วยภาษีซื้อ และเก็บภาษีโดยใช้หลักปลายทาง มุ่งเก็บภาษีจากสินค้า ทุกชนิด ที่มีการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ไม่คำนึงว่าสินค้านั้นจะมีการผลิตที่ใด (2) ความสัมพันธ์เชิงเป็นเหตุ เป็นผลระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มและการเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่ารายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เป็นสาเหตุ ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นสาเหตุของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 นั่นคือ เมื่อเศรษฐกิจเจริญเติบโตส่งผลต่อรายได้รัฐบาลจากภาษีอากรซึ่ง กรมสรรพากรจัดเก็บเพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโต ธุรกิจดำเนินกิจการต่อไป มีเงินหมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ มีการลงทุนเพิ่มผลผลิต จ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ผลิตสินค้าและ บริการมากขึ้น ส่งผลให้มีการจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2712
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153020.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons