Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2714
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปทานพืชอาหารสัตว์ในประเทศไทย : กรณีศึกษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง |
Other Titles: | Factors influencing supply of feedstuff crops in Thailand : a case study of maize and soybean |
Authors: | เฉลิมพล จตุพร สุพรรษา สร้อยยอดทอง, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. อาหารสัตว์--อุปทานและอุปสงค์ พืชอาหารสัตว์--อุปทานและอุปสงค์ ข้าวโพด ถั่วเหลือง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์อุปทานพืชอาหารสัตว์ และ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปทานพืชอาหารสัตว์ในประเทศไทย ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลืองข้อมูลที่ใช้คืออนุกรมเวลารายปี เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2500 - 2561 รวมข้อมูลทั้งสิ้น 61 ปี และวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการลดรูปตัวแปร ทั้งนี้ ได้พิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ตัวประมาณค่ากำลังสองน้อยที่สุดแบบทั่วไป ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงของแปรอิสระสูงเกินไป ตัวคลาดเคลื่อนมีความแปรปรวนไม่คงที่ และตัวคลาดเคลื่อนมีสหสัมพันธ์ระหว่างกัน ตามลำดับผลการศึกษาพบว่า (1) การผลิตปศุสัตว์ของประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นตาม ความต้องการบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์จากตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลืองเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลและขนาดของผลกระทบต่ออุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 0.406) ราคาถั่วเหลืองในปีที่ผ่านมา (ร้อยละ - 0.288) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 0.971) การผลิตสุกร (ร้อยละ 0.163) และการผลิตไก่เนื้อ (ร้อยละ 0.391) โดยตัวแบบที่ประมาณการขึ้นสามารถอธิบายอุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยได้ถึง ร้อยละ 97.582 สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลและขนาดของผลกระทบต่ออุปทานถั่วเหลือง ได้แก่ ราคาถั่วเหลืองในปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 0.209) พื้นที่ปลูกถั่วเหลือง (ร้อยละ 1.024) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ -0.096) และการผลิตสุกร (ร้อยละ 0.293) โดยตัวแบบที่ประมาณการขึ้นสามารถอธิบายอุปทานถั่วเหลืองในประเทศไทยได้ถึง ร้อยละ 98.894 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2714 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
161997.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License