Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2737
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Factors affecting to government lottery buying behavior of people in Mae Taeng District, Chiang Mai Province |
Authors: | พอพันธ์ อุยยานนท์ สุวินัย จามิตร, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สลากกินแบ่ง--ไทย พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--เชียงใหม่ ผู้บริโภค--ทัศนคติ การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของ ประชาชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Taro Yamane ที่มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 จำนวน ทั้งสิ้น 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลทุกงวดในรอบ 1 ปี โดย ซื้อครั้งละ 1 ฉบับ ในกรณีที่ซื้อมากกว่า 1 ฉบับ เลือกซื้อเลขท้าย 2 ตัว เหมือนกัน และซื้อครั้งละ ไม่เกิน 100 บาท ช่วงเวลาที่ซื้อไม่แน่นอน โดยซื้อมาจากร้านค้าทั่วไป เพื่อน/คนรอบข้าง เป็นแหล่งที่มาของตัวเลขที่ซื้อ เหตุผลที่ซื้อสลาก เนื่องมาจากชอบเสี่ยงโชค โอกาสซื้อสลากไม่แน่นอนและหากมีเลขไม่ตรงกับความต้องการจะเลือกซื้อเลขกลับกัน ติดตามผลการออกสลากผ่านทางวิทยุ ราคาสลาก เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ไม่เคยถูกรางวัลสลากและจะซื้อใหม่ในงวดถัดไป ส่วนปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านส่วนบุคคลและด้านจิตวิทยา มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดได้แก่ ด้านสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด ผลต่อ พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 นอกจากนี้ความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพแตกต่างกันทั้งโดยรวมและปัจจัยรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยอาชีพ ที่นิยมซื้อมากกว่าคือ เกษตรกร เนื่องมาจากชอบเสี่ยงโชค |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2737 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
160975.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License