กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/274
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 : ศึกษากรณีการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems on the enforcement of computer crime Act BE 2550 (2007) : a case study of computer crime caused by malicious software
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ ปิติยาศักดิ์
สถาพร สอนเสนา, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธนิต ประภาตนันท์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความหมายและรูปแบบของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ที่เกิดจากชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์โดยการศึกษาและวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติและความหมายตลอดจนความเสียหาย ที่ไต้รับจากชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติว่าต้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อค้นหามาตรการทางกฎหมายในการป้องกันภัยคุกคามที่เกิดจากชุดคำสั่งดังกล่าว ภายใต้กรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย (Legal Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) ต้วยการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาข้อมูลจากหนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ วิทยานพนธ์กฎหมาย ร่างกฎหมาย และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์จะต้องผ่าน กระบวนการเข้าถึงทางอิเล็กทรอนิกส์หรือทางดิจิทัลก่อนเสมอ จึงจะสามารถนำไปสู่การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบอี่นๆ ตามมากรณีการเข้าถึงโดยม้าโทรจันและสปายแวร์นั้น แม้ว่าม้าโทรจันและสปายแวร์จะเป็นชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ในทางทำให้เกิดความเสียหายแต่ก็ไม่อยู่ในความหมายของคำว่า “ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพราะความเสียหายที่เกิดจากม้าโทรจันและสปายแวร์มิได้ปรากฎให้เห็นโดยชัดแจ้งเจ้าพนักงานในการยุติธรรมโดยเฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงมิอาจตีความ โดยการขยายความเพื่อการดำเนินการหรือเพื่อลงโทษผู้ใชัม้าโทรจันและสปายแวร์ไต้ เพราะการใชักฎหมายอาญาจะต้องมีบทบัญญัติโดยชัดแข้งและต้องตีความโดยเคร่งครัด และไม่มีบทบัญญัติในส่วนใดของกฎหมายนี้ที่จะให้ตีความเช่นนั้นไต้ ทำให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ให้ครอบคลุมถึงม้าโทรจันและสปายแวร์ นอกจากนี้ยังจะต้องมีการสรัางระบบบริหารจัดการเกี่ยวกับชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ผ่านทางพนักงานเจ้าหน้าที่ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และผู้บังคับใช้กฎหมายที่ถือเป็นต้นธารแห่งกระบวนการยุติธรรม โดยจะต้องปรับปรุงกฎหมายว่าต้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้สอดรับกับวิธี ปฏิบัติและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจึงจะสามารถจัดการกับชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ได้อย่างแท้จริง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/274
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib128792.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons