กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2764
ชื่อเรื่อง: การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจรวบรวมลองกองของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรยะลา จำกัด จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Logistics and supply chain business management for collecting Longkong by Yala Agricultural Cooperatives Federation Limited., Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น
ประเสริฐ เร๊ะนุ้ย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรยะลา จำกัด จังหวัดยะลา
โลจิสติกส์ทางธุรกิจ
การจัดการอุตสาหกรรม
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจรวบรวมลองกองของชุมนุมสหกรณ์ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจรวบรวม ลองกองของชุมนุมสหกรณ์และ 3) เสนอแนะแนวทางการลดต้นทุนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจรวบรวมลองกองของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรยะลา จํากัด จังหวัดยะลา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรที่ศึกษา คือกรรมการดําเนินการ เจ้าหน้าที่ สหกรณ์สมาชิก และผู้รวบรวมลองกองของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรยะลา จํากัด โดยเจาะจงเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และการรวบข้อมูลทางการเงินของชุมนุม สหกรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดกลุ่ม และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ชุมนุมสหกรณ์ดําเนินธุรกิจรวบรวมลองกองตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา เป็นศูนย์กระจายสินค้าของสหกรณ์ รวบรวมลองกองในเดือน สิงหาคม ถึง ตุลาคม ของทุกปี กำไรเฉพาะธุรกิจนี้ ปี 2558 จํานวน 835,000 บาท และ ปี 2559 จํานวน 995,000 บาท กระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจรวบรวม ลองกองของชุมนุมสหกรณ์ประกอบด้วย ต้นนํ้า ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกลองกอง และสหกรณ์สมาชิกของชุมนุมสหกรณ์ทําหน้าที่เป็นผู้รวบรวมลองกองจากเกษตรกร บรรจุลองกองใส่ตระกร้าผลไม้ปิดคลุมด้วยผ้า ขนส่งด้วย รถบบรรทุก 20-30 ตระกร้าต่อคันมาส่งชุมนุมสหกรณ์กลางนํ้า ชุมนุมสหกรณ์ทําหน้าที่รวบรวมลองกอง คัดแยกขนาดเบอร์ 1 2 และ 3 บรรจุกล่องกระดาษลูกฟูกตราสัญลักษณ์ของชุมนุมสหกรณ์ กล่องละ 10 กิโลกรัม และขนส่ง ด้วยรถบรรทุกให้เครือข่ายสหกรณ์เดือนละ 10-15 คัน ซึ่งประสานกับเครือข่ายสหกรณ์ปลายนํ้าไว้ล่วงหน้าปลายนํ้า การจําหน่ายลองกองได้ แก่ เครือข่ายสหกรณ์ในแต่ละภูมิภาคร้อยละ 90 และลูกค้ารายย่อย ร้อยละ 10 ของลองกองทั้งหมด 2) ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจรวบรวมลองกองคือ (1) ลองกองที่รวบรวมได้ส่วนใหญ่เป็นเบอร์ 3 ซึ่งขายได้ในราคาถูก สาเหตุเนื่องจากจากการขนส่ง (2) ลองกองมีจํานวนน้อยลงในอนาคตจะขาดตลาด เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น (3) ต้นทุนค่าจ้างคนงานเพิ่มขึ้นสูงเนื่องจากการเปลี่ยนชนิดบรรจุภัณฑ์ และ (4) ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงเนื่องจากชุมนุมสหกรณ์ไม่มีรถบรรทุก 3) แนวทางการลดต้นทุนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจรวบรวมลองกอง ได้แก่ (1) ส่งเสริมให้สหกรณ์ สมาชิกผู้รวบรวมลองกองเพิ่มคุณภาพผลผลิตลองกองตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวของเกษตรกร จนถึงกระบวนการขนส่ง (2) ชุมนุมสหกรณ์จะต้องวางแผนการรวบรวมผลผลิตลองกองให้สอดคล้องกับปริมาณ ความต้องการของตลาดที่ยังเกินกว่าปริมาณที่รวบรวมได้ และจัดการระยะเวลาการรวบรวมสู่การจําหน่ายในระยะสั้น และเสียหายน้อยที่สุด (3) จัดหากล่องบรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรงและมีหลายขนาดมากขึ้น และ (4) ชุมนุมสหกรณ์ควรจัดหารถบรรทุกเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและรวบรวมผลผลิตอื่นได้ด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2764
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154888.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons