กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2771
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมในชุมชนต้นแบบของกรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for extension of sufficiency economy in communities model of department of agricultural extension
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรกัญญา อักษรเนียม, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เศรษฐพอเพียง--ไทย
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแหล่งความรู้ของสมาชิก 2) ความพึงพอใจเกี่ยวกับการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิก 3) การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิก 4) ความเข้มแข็งของกลุ่ม การสร้างเครือข่ายและความพร้อมของการเป็นกลุ่มต้นแบบ 5) ศักยภาพการพื่งพาตนเองของสมาชิก 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจอยู่ในระดับมากและแหล่งความรู้ที่ได้รับอยู่ในระดับปานกลางโดยเฉพาะจากสื่อกลุ่ม 2) สมาชิกมีความพึงพอใจการส่งเสริมในระดับมาก ในด้านผลการส่งเสริม/เข้าร่วมโครงการ 3) สมาชิกใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตในระดับมากโดยเฉพาะด้านคุณธรรม 4) ความเข้มแข็งและการดำรงอยู่ของกลุ่ม ด้านการสร้างเครือข่าย และด้านความพร้อมของการเป็นกลุ่มต้นแบบ พบว่า สมาชิกมีความพร้อมในระดับมาก โดยกลุ่มมีสถานที่เรียนรู้ จุดสาธิตและการฝืกปฏิบัติการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงครบถ้วน และกรรมการกลุ่มมีความเข้มแข็ง 6) ศักยภาพการพึ่งพาตนเอง พบว่า สมาชิกพึ่งพาตนเองในระดับมากโดยเฉพาะด้านจิตใจ 7) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนสันแบบ พบว่า ปัญหาของการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะผลการส่งเสริม/เข้าร่วมโครงการ สำหรับข้อเสนอแนะที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือควรสนับสนุนงบประมาณให้ต่อเนื่อง รองลงมาคือหน่วยงานควรมีแผนการส่งเสริมและพัฒนาที่ชัดเจนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และผู้ส่งเสริมควรช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น สำหรับแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจ ได้แก่ ส่งเสริมการสร้างเอกลักษณ์ของชุมชน ส่งเสริมการเชื่อมโยงความรู้คูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีวิชีวิตชุมชนพอเพียง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2771
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons