Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2787
Title: | ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดงยาง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | Willingness to pay for community forest recovery and conservation : a case study of Dongyang Community Forest, Khaungnai district, Ubon Ratchathani province |
Authors: | ศิริพร สัจจานันท์ สหทัย พันธมาศ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ป่าชุมชน--ไทย--อุบลราชธานี การฟื้นฟูป่า การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินมูลค่าที่เกิดจากการใซัป่าชุมชนบ้านดงยาง และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการพื่นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านดงยางการดำเนินการวิจัยใช้วิธีการประเมินมูลค่าโดยวิธีเหตุการณ์สมมติ สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านดงยาง ค่าบลก่อเอ้ ค่าเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 155 ราย ใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดที่เป็นการเสนอราคาเพียงครั้งเดียวเป็นเครื่องมือการ วิจัย เพื่อหามูลค่าความเต็มใจที่จะจ่าย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 5 กลุ่มตามราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่ายและนำข้อมูลที่ไดัมาวิเคราะห์มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยใช้การวิเคราะห์แบบจำลองโลจิท ผลการศึกษาพบว่า 1) หากมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่จะให้การสนับสนุนถ้ากำหนดให้จ่ายค่าธรรมเนียมสมทบกองทุน จำนวน 30 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน และเมื่อคุณกับจำนวนครัวเรือนในชุมชนจะมีมูลค่าที่สามารถระดมทุนได้เท่ากับ 89,640 บาทต่อปี ในขณะที่ผลการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิท พบว่ามูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ย ที่คำนวณโดยวิธีพาราเมตริกช์มีค่าเท่ากับ 8.24 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน หรือมีค่าความเต็มใจที่จะ จ่ายรวมของประชาชนในชุมชนเท่ากับ 24,621.12 บาทต่อปี 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 มี 3 ปัจจัย คือ รายได้ครัวเรือน สถานภาพการสมรส และราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่าย และมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นไปตามที่คาดหวัง กล่าวคือ ค่าสัมประสิทธิ์ตัวแปรรายได้และสถานภาพการสมรสมีค่าเป็นบวกแสดงให้เห็นว่าความเป็นไปได้ในการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนจะมีค่าสูงขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นและสถานภาพการสมรสแล้ว ในขณะที่ราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่ายมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบซึ่งแสดงให้เห็นว่าถ้าราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่ายมีค่าสูงขึ้น ความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนฯ จะมีค่าลดลง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2787 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128384.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License