กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2787
ชื่อเรื่อง: ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดงยาง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Willingness to pay for community forest recovery and conservation : a case study of Dongyang Community Forest, Khaungnai district, Ubon Ratchathani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สหทัย พันธมาศ, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ป่าชุมชน -- ไทย -- อุบลราชธานี
การฟื้นฟูป่า
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินมูลค่าที่เกิดจากการใซัป่าชุมชนบ้านดงยาง และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการพื่นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านดงยาง การดำเนินการวิจัยใช้วิธีการประเมินมูลค่าโดยวิธีเหตุการณ์สมมติ สำรวจข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างผู้ใช้ประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านดงยาง ค่าบลก่อเอ้ ค่าเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 155 ราย ใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดที่เป็นการเสนอราคาเพียงครั้งเดียวเป็นเครื่องมือการ วิจัย เพื่อหามูลค่าความเต็มใจที่จะจ่าย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 5 กลุ่มตามราคาที่สอบถาม ความเต็มใจที่จะจ่ายและนำข้อมูลที่ไดัมาวิเคราะห์มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยและปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยใช้การวิเคราะห์แบบจำลองโลจิท ผลการศึกษาพบว่า 1) หากมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่จะให้การสนับสนุนถ้ากำหนดให้จ่ายค่าธรรมเนียมสมทบกองทุน จำนวน 30 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน และเมื่อคุณกับจำนวนครัวเรือนในชุมชนจะมีมูลค่าที่สามารถระดมทุนได้เท่ากับ 89,640 บาทต่อปี ในขณะที่ผลการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิท พบว่ามูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ย ที่คำนวณโดยวิธีพาราเมตริกช์มีค่าเท่ากับ 8.24 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน หรือมีค่าความเต็มใจที่จะ จ่ายรวมของประชาชนในชุมชนเท่ากับ 24,621.12 บาทต่อปี 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจที่จะ จ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 มี 3 ปัจจัย คือ รายได้ครัวเรือน สถานภาพการสมรส และ ราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่าย และมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นไปตามที่คาดหวัง กล่าวคือ ค่าสัมประสิทธิ์ตัวแปรรายได้และสถานภาพการสมรสมีค่าเป็นบวกแสดงให้เห็นว่าความเป็นไปได้ใน การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนจะมีค่าสูงขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น และสถานภาพการสมรสแล้ว ในขณะที่ราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่ายมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าถ้าราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่ายมีค่าสูงขึ้น ความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะ สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนฯ จะมีค่าลดลง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2787
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128384.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons