กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2801
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยกำหนดการส่งกุ้งแช่แข็งจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting frozen shrimp export from Thailand to the United State of America
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ
สวัสดิ์ ชีววาริน, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาหารแช่แข็ง--ไทย--การส่งออก
กุ้งแช่แข็ง--ไทย--การส่งออก
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยกำหนดการส่งออกกุ้งแช่แข็งจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการส่งออกกุ้งแช่แข็งของประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา และการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของการส่งออกกุ้งแช่แข็งของประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกกุ้งแช่แข็ง ของประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสจาก ค.ศ. 2000-2016 หลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นททำการหาความนิ่งของข้อมูลโดยการหา Unit Root Test โดยวิธี ADF Test และ PP Test แล้วนำข้อมูลที่นิ่งมาใช้วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด การศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของการส่งออกกุ้งแช่แข็งจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มลดลงร้อยละ15.1 ในเวลาเพียง 5 ปี โดยจุดอ่อน คือปัญหาโรคตายด่วนในกุ้งขาว ปัญหาการสูญเสียความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในด้านต้นทุน ปัญหาจากมาตรการกีด กันการค้า ของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจัยบวกคือแนวโน้ม การส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) จากการทดสอบความนิ่งของข้อมูลพบว่าข้อมูลที่นำมาศึกษาทั้งหมดมีความไม่นิ่งที่ระดับ level ต่อมาเมื่อนำข้อมูลมาหาผลต่างลำดับที่ 1 พบว่าข้อมูลทั้งหมดมีความนิ่งที่ผลต่างลำดับที่ 1 หรือI (1) และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกกุ้งแช่แข็ง ของประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกา คือราคากุ้งแช่แข็งที่จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา และอัตรา แลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ระดับนัยสำคัญ ร้อยละ 5 และ 10 ตามลำดับ.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2801
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159661.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons