กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2815
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของอนุญาโตตุลาการแก่สัญญาสัมปทานของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problem of applicable law by arbitration under concession contracts of state
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนทร มณีสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชาติ ศรีวรกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัฒนชัย แสนกล้า, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การบังคับใช้กฎหมาย
อนุญาโตตุลาการ
สัมปทาน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการระงับข้อพิพาทอันเนื่องมาจาก สัญญาสัมปทาน โดยอนุญาโตตุลาการ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับแนวทางระงับข้อพิพาท โดยอนุญาโตตุลาการใน ต่างประเทศ (2) เพื่อให้ทราบถึงกฎหมายทื่ใช้บังคับกับสัญญาสัมปทาน โดยศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ (3) เพื่อพัฒนาแนวคิดในการนำหลักกฎหมายมาบังคับใช้ในสัญญาสัมปทานของรัฐ และ (4) เพื่อปรับปรุง กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะการนำวิธีการอนุญาโตตุลาการมาใช้กับสัญญาสัมปทานของรัฐให้มี ความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของคู่สัญญา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยนำการวิเคราะห์แนวทาง ระงับข้อพิพาท รวมทั้งกฎหมายที่อนุญาโตตุลาการ ใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค้นหาความเหมาะสมกรณีที่ใช้กับปรเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) การเลือกกฎหมายที่อนุญาโตตุลาการจะนำมาใช้ในการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท แบ่งได้เป็น 2 กรณี 1) กระบวนการอนุญาโตตุลาการภายในประเทศ ซึ่งคู่พิพาทต่างเป็นคนสัญชาติไทยด้วยกัน อนุญาโตตุลาการ ต้องตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทไปตามกฎหมายไทย 2) กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งคู่พิพาทอาจจะมีสัญชาติแตกต่างกัน หากคู่สัญญาได้กำหนดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานไว้ อนุญาโตตุลาการก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตามบทบัญญัติของประเทศนั้น หากคู่สัญญามิได้กำหนดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานไว้ อนุญาโตตุลาการควรเลือกกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ตาม “หลักว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย” ก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน (2) การตัดสินข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ ในสัญญาสัมปทานในต่างประเทศมีการใช้หลักกฎหมายต่างๆ ในการอ้างอิงประกอบคำชี้ขาด อาทิเช่น หลักสุจริต หลักสัญญาต้องได้รับการปฏิบัติตามสัญญา หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ หลักการเคารพสิทธิได้มา หลักสิทธิในการเวนคืน หลักการชดใช้ค่าทดแทน และหลักการชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น (3) สำหรับประเทศไทยก็มีการใช้หลักกฎหมายบางส่วนที่คล้ายคลึงกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณีที่ข้อพิพาทจากสัญญาสัมปทานของรัฐมีความเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ การวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้นำหลักการต่างๆ ในกฎหมายมหาชนมาพิจารณาประกอบด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2815
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128810.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons